แผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2552

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

 

          สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการในการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ โดยในปี 2551 ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการอาชีวศึกษา เพื่อสร้างความนิยมในการเรียนวิชาชีพให้กับสังคม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน ในขณะเดียวกันได้ใช้กิจกรรมการบริการสังคมในโครงการและวาระพิเศษต่างๆเพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา และเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทั้งในด้านการฝึกงานวิชาชีพและปลูกฝังสำนึกการบริการสังคม  นอกจากนี้ได้เน้นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบและมีบทบาทในการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันมากขึ้น ผลการดำเนินการดังกล่าวในปี 2551 ช่วยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่รู้จักกับสังคมมากขึ้น และกลุ่มเป้าหมายต่างต้องการเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษา  ดังนั้นในปี 2552 นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงต้องการที่จะพัฒนาด้านคุณภาพให้เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณผู้เรียน และขยายบทบาทการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้มีงานทำแล้ว ผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ และผู้ที่กำลังหางานทำให้มากขึ้น  และให้ความสำคัญกับการค้นหา พัฒนา เผยแพร่ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อสร้าง และพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงได้กำหนดแผนปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ 2552 ไว้ดังนี้

 

 วิสัยทัศน์

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นองค์กรหลักที่มุ่งมั่นผลิตxml:namespace prefix = และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศxml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />
 

พันธกิจ

•       จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน

•        ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและเสมอภาค

•        วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ

ในการผลักดันให้วิสัยทัศน์และพันธกิจบรรลุตามเป้าหมายนั้น สำนักงานคณะกรรมการ

การอาชีวศึกษาได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ 34 กลยุทธ์  ดังนี้

  

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพ มาตรฐาน

 

          สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาและ
การฝึกอบรมวิชาชีพโดยคำนึงถึงคุณธรรมและความเป็นเลิศทางวิชาชีพ

การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ จะเน้นการผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนให้มีการรับรองสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และสร้างค่านิยมที่ดีต่อการอาชีวศึกษา  โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพมีคุณภาพ มาตรฐาน มีงานทำและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม   โดยมีกลยุทธ์หลักคือ 

1.      พัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา

2.      เร่งรัดพัฒนาคุณภาพและสมรรถนะผู้เรียน

3.      สร้างมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล

4.      ส่งเสริมการประกันคุณภาพสถานศึกษา

5.      ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

6.      พัฒนาสถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐาน มีความเป็นเลิศทางวิชาชีพ

7.      สร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ ปลูกจิตอาสา ด้วยการบริการสังคม

8.      ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ นวัตกรรม มาใช้ในการเรียนการสอน  เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

9.      สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการอาชีวศึกษา

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ

 

การผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงตามความต้องการของประเทศ ต้องได้รับร่วมมือกับองค์กรที่ต้องการใช้กำลังคน ตั้งแต่ภาคการผลิต  เอกชน  รัฐวิสาหกิจ และชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การกำหนดหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนในการผลิตกกำลังคนได้ตรงกับความต้องการภาคการผลิตและความต้องการของผู้ใช้   โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและท้องถิ่น  และมีกลยุทธ์ คือ

1.      ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพทั้งในและต่างประเทศ

2.      สร้างความเข้มแข็งในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ

3.      พัฒนาฐานข้อมูลความร่วมมือ

4.      พัฒนาศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษา

5.   ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานศึกษาเอกชน สถานประกอบการและเครือข่าย

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษา

                        คุณภาพของการอาชีวศึกษา มีระบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อคุณภาพ  การปฏิรูประบบราชการ  พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546   และนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA)  ซี่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ  ในขณะที่กฎหมายการอาชีวศึกษาได้ระบุถึงการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ซึ่งต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารและจัดการในรูปแบบสถาบันการอาชีวศึกษาควบคู่ไปด้วย อีกทั้งจากการประกาศใช้กฎหมายการอาชีวศึกษาดังกล่าว มีผลให้ต้องสร้างกฎหมาย กฎระเบียบ ต่างๆเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาระบบบริหารและจัดการอาชีวศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ไว้ดังนี้

1.      จัดและพัฒนาโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นไปตาม ก.ม.การอาชีวศึกษาและ

     ก.ม.อื่นที่เกี่ยวข้อง

2.      พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและธรรมาภิบาล

3.      พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ  ข้อบังคับ

4.      กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่สถานศึกษาและสถาบัน

5.      ผลักดันการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา

6.      พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ

7.      พัฒนาระบบการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ

8.      ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการ

9.      เสริมสร้างสวัสดิการและขวัญกำลังใจ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                   มุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ

การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยมีจุดมุ่งหมายให้คลอบคลุมประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และกลุ่มเป้าหมายทั้งเด็ก เยาวชน วัยแรงงาน สตรี ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส คนพิการ ผู้ห่างไกลทุรกันดารและชนกลุ่มน้อย มีกลยุทธ์ดังนี้

 

1.      ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ด้วยรูปแบบที่

     หลากหลายทั้งในระบบ นอกระบบ และทวิภาคี  

2.      ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนในการสร้างงานสร้างรายได้

3.      จัดการศึกษาวิชาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ  ผู้สูงอายุ

4.       ส่งเสริมให้มีการสร้างรายได้ระหว่างเรียน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : จัดอาชีวศึกษาเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐ

                   ส่งเสริมการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดน ให้เป็นกลไกเสริมสร้างความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเป็น
อัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ มีความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาวิชาการ/วิชาชีพ เตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรีการค้าในอนาคต  โดยหวังผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาชีพในภูมิภาค โดยเฉพาะสาขาที่มีศักยภาพและความพร้อม
  ประกอบไปด้วยกลยุทธ์  ดังนี้

1.      ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในเขตชายแดน

ภาคใต้

2.      ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในพื้นที่ชายแดน และ

เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

3.      ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามโครงการ

พระราชดำริ

4.      ส่งเสริมและพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจ

อันดี

 

ยุทธศาสตร์ ที่ 6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ”

                   เพื่อให้การอาชีวศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตั้งแต่การพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการเรียนรู้  การสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางวิชาชีพ  การเชื่อมโยงการวิจัยกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ มีกลไกนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีกลยุทธ์  ดังนี้

1.      ส่งเสริมพัฒนาการวิจัย  สร้างนวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ และการวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

2.      ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการและการเรียนการสอน

3.       ส่งเสริมให้นำความรู้ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ไปใช้พัฒนาอาชีพ จดสิทธิบัตร และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์

4.      พัฒนาระบบบริหารจัดการ เครือข่ายงานวิจัย และการจัดการความรู้อาชีวศึกษา ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

 

 

 

 

 

##urlname##

 

จดหมายเปิดผนึก ร้องเรียน  ....ท่านเฉลียว อยู่สีมารักษ์  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2551/ภาคเรียนที่2

 เรื่อง   ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเบิกจ่ายเงินค่าสอนเกินภาระงานสอน  ใน  สถานศึกษาวอศ.ลำปาง                  

 

คลิ๊กที่นี่ ร้องเรียน ฉบับที่ 1http://industrialclothingdesign.com/0000001.html

 

คลิ๊กที่นี่ ร้องเรียน ฉบับที่ 2http://industrialclothingdesign.com/0000001a2.html

 

 

 

 

 

 

ความหวังอยู่ที่ท่าน...ยกเลิกนโยบาย.ไม่โปร่งใส  (เพิ่มค่าสอน.).แต่ไปใช้เกณฑ์ เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม..ทำให้เกิดสังคมแตกแยก รวยกระจุก จนกระจาย. แต่ก่อนไม่เพิ่มค่าสอน ยังได้ค่าสอนพิเศษบ้าง พอ เพิ่มค่าสอนกลับ ไม่ได้...

 

 

 

 

 

ข้าพเจ้าเคยเปิดหนังสือที่ระลึกของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษา สถาบันหนึ่งข้าพเจ้าเปิดอ่านโดยบังเอิญ

ข้าพเจ้าอ่านวิสัยทัศน์(คติ)ของผู้บริหารระดับสูงและรองๆ  เขียนไว้ว่า

ท่านที่1.ผู้ชนะมีแต่โอกาส ผู้แพ้มีแต่ปัญหา (ตีความได้ว่า  เมื่อมีอำนาจจงฉกฉวยโอกาสหรือ แสวงหาอำนาจเพื่อฉกฉวยโอกาส )นั่นแหละ  เหมียนกัน

ท่านที่2เขียนไว้ยาวมาก แต่ ข้าพเจ้าอ่านแล้ว พอสรุปได้ว่า  ทีมึงกูไม่ว่า ถึงทีข้ามึงอย่าโวย หรืออีกนัย หนึ่งบังอาจตีความได้ว่า แค้นนี้ต้องชำระ   นั่นเอง.

 

 

 

ขอเชิญร่วมประชาพิจารณ์
-ร่าง-
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. .... (ฉบับปี พ.ศ. 2552)


ส่งไปยัง  www.boga.go.th ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ถึง  nipatta ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2552

 

 

(ร่าง)
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. ....

 

 

------------------------------------------------- 

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา         สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  กฎหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา และภารกิจของสถานศึกษาในปัจจุบัน

                     

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1   ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. ….”

ข้อ 2   ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

ข้อ 3   ให้ยกเลิก ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2549

ข้อ 4   ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ-                 การอาชีวศึกษา                                   

ข้อ 5   ในระเบียบนี้

“สถานศึกษา” หมายความว่า วิทยาลัย ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

“ผู้อำนวยการวิทยาลัย ” หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการศูนย์ หรือหน่วยงาน   ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย รวมทั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง หรือผู้ได้รับแต่งตั้งให้     ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย

“รองผู้อำนวยการวิทยาลัย” หมายความรวมถึง รองผู้อำนวยการศูนย์หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย รวมทั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง หรือผู้ได้รับแต่งตั้งให้    ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย

“นักเรียน นักศึกษา” หมายความว่า ผู้ที่เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา       สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                                     

“บุคลากรในสถานศึกษา” หมายความว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ      ในสถานศึกษา

“้เข้ารับการฝึกอบรม” หมายความว่า ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

“ผู้เรียน” หมายความว่า นักเรียน นักศึกษา และผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ข้อ 6   ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไป         ตามระเบียบนี้

                      

หมวด 1

หน้าที่และการบริหารงานของสถานศึกษา

 

ข้อ 7   สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษา ฝึกอบรมและส่งเสริมการประกอบอาชีพ    ของประชาชนให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา      และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  ตามนโยบายของรัฐบาล และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวให้สถานศึกษาดำเนินการดังต่อไปนี้

(1)   จัดการศึกษาให้มีความทันสมัย  ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อการดำรงชีวิตตามสภาพเศรษฐกิจ      สังคม ท้องถิ่น วัฒนธรรมเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการปฏิบัติงานจริง ตามความพร้อม  และศักยภาพของสถานศึกษา

(2)  จัดการศึกษาโดยประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาที่อยู่ภายใน  จังหวัดนั้น ทั้งในด้านการจัดการวิชาการ การใช้บุคลากรและทรัพยากรร่วมกัน

(3)  จัดการศึกษาโดยการระดมทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพย์สิน และบุคลากรทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น รวมทั้งความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และการจัดหาทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา   

(4)  จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีสมรรถนะทางวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพเป็นพลเมืองดีของสังคม  มีความสามารถในการคิด เรียนรู้ วางแผนและพัฒนาตนเอง

(5)    เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชนและท้องถิ่น

(6)    วิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม

(7)    ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ส่งเสริมการกีฬา พลานามัย  และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

(8)  ส่งเสริมการจัดการศึกษาเชิงธุรกิจ การรับงานการค้า และการรับจัดทำ   รับบริการ รับจ้าง ผลิตเพื่อจำหน่ายที่สอดคล้องกับการเรียนการสอน

ข้อ 8   ให้สถานศึกษาแบ่งการบริหารงานออกเป็นฝ่ายดังนี้

(1)    ฝ่ายบริหารทรัพยากร

(2)    ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ

(3)    ฝ่ายพัฒนาการศึกษา

(4)    ฝ่ายวิชาการ

ข้อ 9   ฝ่ายบริหารทรัพยากร  แบ่งออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้

(1)    งานบริหารงานทั่วไป

(2)    งานบุคลากร

(3)    งานการเงิน

(4)    งานการบัญชี

(5)    งานพัสดุ

(6)    งานอาคารสถานที่

(7)    งานประชาสัมพันธ์

(8)    งานเอกสารการพิมพ์

ข้อ 10 ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ แบ่งออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้

(1)    งานแผนงบประมาณ

(2)    งานข้อมูลสารสนเทศ

(3)    งานบริการชุมชน

(4)    งานวิจัยและพัฒนามาตรฐานอาชีวศึกษา

(5)    งานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

(6)    งานการตลาด การค้าและประกอบธุรกิจ

(7)    งานฟาร์มและโรงงาน (เฉพาะสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี)

(8)    งานสำรวจวิเคราะห์ดินและน้ำเพื่อการเกษตร (เฉพาะศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร)

 

 

ข้อ 11 ฝ่ายพัฒนาการศึกษา แบ่งออกเป็นงานต่าง ๆ ดังนี้

(1)    งานปกครองและครูที่ปรึกษา

(2)    งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

(3)    งานแนะแนวและสวัสดิการการศึกษา

ข้อ 12 ฝ่ายวิชาการ แบ่งออกเป็นแผนกและงานดังนี้

(1)    แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์

(2)    แผนกวิชาชีพตามสาขาวิชาที่เปิดสอน

(3)    งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

(4)    งานวัดผลและประเมินผล

(5)    งานวิทยบริการและห้องสมุด

(6)    งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

(7)    งานทะเบียน

แผนกวิชาชีพให้เปิดทำการสอนตามความต้องการของตลาดแรงงาน        สภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นและผู้เรียน และตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ในกรณีที่แผนกวิชาชีพใดไม่มีความจำเป็นต้องเปิดทำการสอนในสถานศึกษาต่อไป             ให้ดำเนินการยุบเลิกแผนกวิชาชีพนั้น

การเปิดสอนแผนกวิชาชีพใหม่ และการยุบเลิกแผนกวิชาชีพ ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการวิทยาลัยโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิทยาลัย

ข้อ 13 ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาจมอบหมายหน้าที่ให้รองผู้อำนวยการวิทยาลัยคนหนึ่งรับผิดชอบบริหารงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อ 8  ก็ได้

ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาจแต่งตั้งหรือมอบหมายหน้าที่ให้ข้าราชการครู        และบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการหรือว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ทำหน้าที่หัวหน้างาน   หัวหน้าแผนก และเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ในสถานศึกษาได้ตามความจำเป็น และตามที่เห็นสมควร

การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลทำหน้าที่หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก      ตามวรรคสอง อาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลคนหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกมากกว่าหนึ่งหน้าที่ก็ได้

 

 

 

 

หมวด 2

หน้าที่ของงานและแผนก

 

ข้อ 14    งานบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)    ปฏิบัติงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ

(2)    สรุปความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชา และจัดส่งให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา

(3)  เก็บรวบรวม และจัดระบบเอกสาร หลักฐาน และระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษา และให้บริการแก่บุคลากร และนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา

(4)    ให้บริการเกี่ยวกับการรับส่งไปรษณีย์ ธนาณัติ โทรเลขของบุคลากร นักเรียนและนักศึกษา

(5)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(6)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(7)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 15    งานบุคลากร มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  แนะนำ เผยแพร่ และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของบุคลากรในสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

(2)    จัดทำแผนการใช้อัตรากำลังบุคลากรในสถานศึกษา

(3)    จัดทำแผนและดำเนินการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา

(4)    ควบคุม จัดทำสถิติ และรายงานเกี่ยวกับการลงเวลาปฏิบัติราชการ และการลาของบุคลากรในสถานศึกษา

(5)    ดำเนินการเกี่ยวกับการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การจัดทำทะเบียนประวัติของบุคลากรในสถานศึกษา

(6)  ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก แก่บุคลากรในสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขอแก้ไขทะเบียนประวัติ การขอเปลี่ยนตำแหน่ง    การขอมีและขอเลื่อนวิทยฐานะ การออกหนังสือรับรอง การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ และเงินทดแทน เป็นต้น

(7)    การดำเนินการทางวินัยของบุคลากรในสถานศึกษา

(8)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(9)    ดูแลบำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(10)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น

(11)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย 

ข้อ 16    งานการเงิน  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดทำเอกสารและหลักฐานการจ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ดำเนินการด้านการเงิน การเบิกเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำฝากเงิน การนำเงินส่งคลัง การถอนเงิน  และการโอนเงินของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)  รับและเบิกจ่ายเงิน ตรวจสอบรายงานการเงินคงเหลือประจำวันของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

(3)    ควบคุมการเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการรายปี

(4)  เก็บรักษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(5)  ให้คำแนะนำ ชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับการเบิก-จ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(6)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(7)    ดูแลบำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(8)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น

(9)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 17    งานการบัญชี มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดทำเอกสารหลักฐาน บันทึกรายการบัญชี ปรับปรุงบัญชี การปิดบัญชี        ของสถานศึกษา ตามระบบบัญชีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)  จัดทำรายงานงบการเงิน และบัญชี เพื่อจัดส่งส่วนราชการและหน่วยงาน  ที่เกี่ยวข้องภายในกำหนด เวลาตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(3)    ควบคุมการเบิกจ่ายเงินตามประเภทเงินให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการรายปี

(4)    ให้คำปรึกษา ชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับงานในหน้าที่

(5)  เก็บรักษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(6)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(7)    ดูแลบำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(8)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น

(9)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 18    งานพัสดุ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดวางระบบและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดหา การซื้อ การจ้าง การเก็บรักษา และการเบิกจ่ายพัสดุ การควบคุม และการจำหน่ายพัสดุให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)    ควบคุมการเบิกจ่ายเงินตามประเภทเงิน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการรายปี

(3)    ควบคุมดูแล ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาครุภัณฑ์ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต่อการใช้งาน

(4)  จัดวางระบบและควบคุมการใช้ยานพาหนะ การเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง การบำรุงรักษาและการพัสดุต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับยานพาหนะของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ         ที่เกี่ยวข้อง

(5)    ให้คำแนะนำ ชี้แจง และอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับงานในหน้าที่

(6)  เก็บรักษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(7)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(8)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น

(9)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 19    งานอาคารสถานที่ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)    จัดทำทะเบียนที่ดินและสิ่งก่อสร้างทุกประเภทของสถานศึกษา

(2)    ประสานงานและวางแผนในการใช้พื้นที่ของสถานศึกษา ให้เป็นไป     ตามแผนพัฒนาสถานศึกษา

(3)  กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาประโยชน์       ที่ราชพัสดุ  การใช้ และการขอใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษาให้เป็นไป ตามกฎหมายและระเบียบ  ที่เกี่ยวข้อง

(4)  ควบคุมดูแล ปรับปรุง พัฒนาอาคารสถานที่ การอนุรักษ์พลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของสถานศึกษาให้เป็นระเบียบและสวยงาม

(5)    จัดเวรยามดูแลอาคารสถานที่ของสถานศึกษาให้ปลอดภัยจากโจรภัย อัคคีภัย และภัยอื่น ๆ

(6)    ให้คำแนะนำ ชี้แจง และอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับงานในหน้าที่

(7)  เก็บรักษาเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(8)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(9)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับชั้น

(10)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย     

ข้อ 20    งานเอกสารการพิมพ์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดทำร่างหนังสือราชการ ประกาศ คำสั่ง ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร  จัดลำดับความสำคัญของเอกสาร ร่วมมือประสานงานให้ความสะดวกแก่บุคลากรและหน่วยงาน       ในสถานศึกษาเกี่ยวกับงานเอกสารการพิมพ์ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เอกสารการพิมพ์ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ

(2)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(3)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(4)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 21    งานประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  รวบรวมและเผยแพร่ข่าวสาร นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง คำชี้แจง  ประกาศ ให้บุคลากรในสถานศึกษา และนักเรียนนักศึกษาของสถานศึกษา

(2)  รับผิดชอบต่อศูนย์การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ของสถานศึกษาทั้งภายใน   และภายนอกสถานศึกษา เช่น ศูนย์ควบคุมเสียงตามสาย ศูนย์วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์ภายในภายนอก งานสื่อสารด้วยระบบการจัดการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

(3)  เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ประสานงานกับชุมชน ท้องถิ่น ส่วนราชการ  สถานศึกษาอื่น ๆ สื่อมวลชน และประชาชน เพื่อการประชาสัมพันธ์

(4)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(5)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(6)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 

 

ข้อ 22    งานแผนงบประมาณ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดทำแผน แผนการศึกษา แผนการใช้ทรัพยากร ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ  นโยบายรัฐบาล  นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

(2)  กำหนดแผนงานการรับนักเรียน นักศึกษา  การยุบ  ขยายและเพิ่มประเภทวิชา  สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ตามความพร้อมและศักยภาพของสถานศึกษา

(3)  จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา แผนการปฏิบัติราชการรายปี ให้สอดคล้องกับนโยบายและภารกิจของสถานศึกษา

(4)  การตรวจสอบภายในสถานศึกษา  การควบคุมภายใน  การควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  เงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และดำเนินเรื่องขอเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายเงินของสถานศึกษาเมื่อจำเป็น

(5)  จัดทำรายงานการใช้เงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณตามตัวชี้วัด ตามแผนงานและโครงการ เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และหน่วยงานอื่น           ที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

(6)  รวบรวมแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ  เงินนอกงบประมาณ เป็นค่าวัสดุฝึกของแผนกวิชา สำรวจความต้องการวัสดุครุภัณฑ์ของแผนกวิชา และงานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างด้วยเงินงบประมาณหรือเงินนอกงบประมาณ

(7)    วิเคราะห์รายจ่ายของสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงการใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ

(8)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(9)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(10)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(11)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 23    งานข้อมูลสารสนเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  รวบรวมข้อมูล ประมวลผล จัดเก็บรักษา จัดทำ และบริการข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษา สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน บุคลากร งบประมาณ ครุภัณฑ์          อาคารสถานที่ แผนการเรียน และข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ             ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยประสานงานกับแผนกวิชาและงานต่าง ๆ ในสถานศึกษาและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

(2)    รวบรวมและเผยแพร่สารสนเทศต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา      และการประกอบอาชีพ

(3)  พัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลของสถานศึกษา ให้สามารถเชื่อมโยงกับ   สถานศึกษาอื่น  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่น รวมทั้ง         การพัฒนาศักยภาพการใช้ข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

(4)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(5)    ดูแล  บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(6)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(7)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 24    งานบริการชุมชน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  รับผิดชอบโครงการฝึกอบรมและบริการวิชาชีพ เช่น โครงการตามพระราชดำริ  โครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและ108 อาชีพ เป็นต้น

(2)    เผยแพร่องค์ความรู้ การฝึกทักษะวิชาชีพ เพื่อการประกอบอาชีพแก่ประชาชน

(3)  ดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการที่ให้บริการที่ตอบสนองต่อชุมชนและสังคม เช่น โครงการอาชีวศึกษาร่วมด้วยช่วยประชาชน โครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน เป็นต้น

(4)  ติดตามประเมินผลการฝึกอบรม และประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

(5)    ประสานจัดเครือข่ายและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพ

(6)  ส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ ตลอดจนข่าวสาร และเสนอแนะแนวทางใน     การประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้สนใจ โดยผ่านทางสื่อมวลชนต่าง ๆ

(7)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(8)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(9)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(10)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 25    งานวิจัยพัฒนาและมาตรฐานอาชีวศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  จัดทำและเผยแพร่การวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสถานศึกษา สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการศึกษา อาคารสถานที่ บุคลากร การบริหาร และการพัฒนาวิชาชีพ

(2)  วิเคราะห์ วิจัย และประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอน การใช้เครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอน การใช้อาคารสถานที่     และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจัดการเรียนการสอน                            

(3)    ประเมินผลการจัดอบรมและการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา

(4)    วิเคราะห์ วิจัยหลักสูตรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอน

(5)  ส่งเสริม สนับสนุน นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา การประกอบอาชีพ และประโยชน์โดยรวมของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น  รวมทั้งเผยแพร่ให้กับสถานประกอบการ หน่วยงานภายนอก และประชาชนทั่วไป

(6)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(7)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(8)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(9)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 26    งานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

(1)  วางแผนดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษาระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้

(2)    ประสานงานกับ สถานประกอบการ และหน่วยงานภายนอกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

(3)  ประสานงานกับสถานศึกษาอื่น แผนกวิชา และงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

(4)  ประสานงานกับ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ในการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

(5)  พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ และหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดรายวิชาและสาขางานให้สอดคล้องกับนโยบาย  ความต้องการของตลาดแรงงาน  ชุมชน ท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(6)  ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจ       ในหลักการ จุดหมายและหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร ตลอดจนระเบียบการจัดการศึกษา และระเบียบการประเมินผลการเรียนของหลักสูตรนั้น

(7)    ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้ตรงตามหลักสูตร

(8)  ประสานงานกับแผนกวิชาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ทั้งระบบ       การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และสะสมหน่วยกิต

(9)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(10)                ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(11)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(12)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  ข้อ 27  งานการตลาด การค้า และประกอบธุรกิจ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  ควบคุม ตรวจสอบผลิตผลการศึกษาทุกประเภทของสถานศึกษาให้ตรงกับโครงการฝึก จัดทำทะเบียนผลิตผล และจำหน่ายผลิตผล การจ่ายค่าแรงนักเรียนนักศึกษา รางวัล   ค่าคุมงานให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)  วางแผน ดำเนินงาน ประสานสัมพันธ์ ร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับข่าวสารของสถานศึกษา การรับงานการค้า รับจัดทำ รับบริการ รับจ้าง ผลิตเพื่อจำหน่าย การหารายได้ระหว่างเรียน และการตลาด การค้าและประกอบธุรกิจ

(3)    ส่งเสริมการจัดทำแผนธุรกิจร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมการทำธุรกิจขนาดย่อม

(4)    ส่งเสริมการจัดการเชิงธุรกิจและบริหารทรัพยากรเพื่อสร้างรายได้ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน

(5)  ร่วมกับงานพัสดุในการจัดหาวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการในการดำเนินงานธุรกิจ

(6)  จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของงานธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบันและจัดทำรายงานเป็นประจำทุกเดือน

(7)  รวบรวมข้อมูล สถิติต่าง ๆ รายรับ-รายจ่ายในการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานธุรกิจให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษายิ่งขึ้น

(8)    ควบคุมดูแลการดำเนินงานของกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษาให้เป็นไป   ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(9)  ส่งเสริมให้ครู นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาให้เห็นความสำคัญของการสหกรณ์ และการส่งนักเรียน นักศึกษาเข้าฝึกงานในสหกรณ์

(10)      ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(11)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(12)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 28    งานฟาร์มและโรงงาน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  ประสานงานกับแผนก และงานต่าง ๆ ในสถานศึกษาและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการผลิตและจำหน่ายหรือบริการ เพื่อจัดทำโครงการในเชิงธุรกิจ และพัฒนางานนั้นให้เข้าสู่มาตรฐาน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่นักเรียนนักศึกษา เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

(2)  ร่วมกับงานพัสดุในการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งต่าง ๆ ตามความต้องการในการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ

(3)  ควบคุม กำกับ ดูแล ในการดำเนินงานการผลิตและจำหน่ายหรือบริการ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

(4)  จัดทำแผนการใช้แรงงาน กำหนดภารกิจหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคนที่อยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ

(5)  ตรวจสอบและวางแผนการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล      และอาคารสถานที่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา

(6)  จัดทำทะเบียนประวัติการใช้งาน การซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน

(7)  ควบคุมดูแลฟาร์มและอาคารสถานที่ ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่เป็นระเบียบ สะอาด และปลอดภัย

(8)  เผยแพร่ความรู้และวิทยาการต่าง ๆ จากการดำเนินงานแก่นักเรียนนักศึกษา เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

(9)  วางแผนและจัดระบบในการรับนักเรียนนักศึกษา เกษตรกรตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าฝึกงาน หรือศึกษาดูงาน

(10)   จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของงานฟาร์มหรือโรงงานที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นปัจจุบัน และจัดทำรายงานเป็นประจำทุกเดือน

(11)   รวบรวมข้อมูล สถิติต่าง ๆ รายรับ-รายจ่ายในการดำเนินการผลิตและจำหน่ายหรือบริการเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานฟาร์มให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษายิ่งขึ้น

(12)      ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

 

(13)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(14)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 29    งานสำรวจวิเคราะห์ดินและน้ำเพื่อการเกษตร มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้

(1)  ดำเนินการวางแผนสำรวจวิเคราะห์ดินและน้ำเพื่อการเกษตร จำแนกดินของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาสถานศึกษา

(2)    ทำการวิเคราะห์ดินและน้ำ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงดินแก่สถานศึกษา เกษตรกร และส่วนราชการอื่น ๆ

(3)  ให้คำแนะนำปรึกษาแก่สถานศึกษา ทางด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งการวางแผนการใช้ที่ดินแก่สถานศึกษา

(4)    ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรและผู้สนใจเรื่องดิน น้ำ พืช และปุ๋ย

(5)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(6)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 30    งานปกครองและครูที่ปรึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้

(1)  ปกครองดูแลนักเรียน นักศึกษา และผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้อยู่ในระเบียบวินัย ข้อบังคับตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)  ประสานกับครู งานและแผนกวิชาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน นักศึกษา และผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสถานศึกษา

(3)  ประสานงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน      และนักศึกษา เจ้าหน้าที่บ้านเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครองในการแก้ปัญหาความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา

(4)  พิจารณาเสนอระเบียบ หลักเกณฑ์การตัดคะแนนความประพฤติและพิจารณาเสนอความเห็นในการลงโทษนักเรียนนักศึกษาผู้กระทำความผิดตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(5)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(6)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(7)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(8)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 31    งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)    ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกิจกรรมชมรมต่าง ๆ ขึ้นภายในสถานศึกษาตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(2)  ดำเนินการจัดตั้งและควบคุมดูแลองค์การวิชาชีพต่าง ๆ ขึ้นในสถานศึกษา     เช่น องค์กรเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ         สยามบรมราชกุมารี (อกท.) องค์การช่างเทคนิคในอนาคตแห่งประเทศไทย (อชท.) องค์การนักคหกรรมศาสตร์      ในอนาคตแห่งประเทศไทย (อคท.) องค์การนักธุรกิจในอนาคตแห่งประเทศไทย (อธท.) องค์การช่างศิลปหัตถกรรมในอนาคตแห่งประเทศไทย (อศท.) เป็นต้น

(3)  จัดดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา สังคม ชุมชน และกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญของชาติ วันสำคัญทางศาสนา

(4)  การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ของนักเรียน นักศึกษา โครงการพัฒนานักเรียน นักศึกษาด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ และในด้านต่าง ๆ

(5)    ควบคุมดูแลกิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร ลูกเสือ และเนตรนารี

(6)    ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมในสถานศึกษา

(7)  ดำเนินงานโครงการพิเศษของสถานศึกษา ประสานงานโครงการพิเศษ  กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น งานป้องกันและปราบปราม สารเสพติด งานแก้ปัญหาป้องกันโรคเอดส์  งานป้องกันและแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท ก่อความไม่สงบในสถานศึกษา งานการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ งานโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง เป็นต้น

(8)  จัดและควบคุมดูแลสวัสดิการและการให้บริการด้านต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา เช่น ร้านค้าจำหน่ายอาหาร  น้ำดื่ม  เป็นต้น

(9)   ดำเนินการและอำนวยความสะดวกในการให้บริการต่าง ๆ เช่น การทำบัตรประกันสุขภาพ การทำประกันอุบัติเหตุ การขอใช้สิทธิลดค่าโดยสารยานพาหนะต่าง ๆ ของนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น                 

(10)      จัดหาเวชภัณฑ์และเครื่องมือเพื่อการปฐมพยาบาลและการบริการ         ทางสุขภาพ

(11)   ดำเนินการเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล  การบริการทางสุขภาพแก่นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา

(12)   ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อร้ายแรง สิ่งเสพติดต่าง ๆ ตลอดจนการป้องกันรักษา

(13)   จัดหอพัก ตรวจติดตาม และควบคุมดูแลการเข้าพักในหอพักทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง

(14)   จัดโรงอาหาร วางแผนจัดระบบและควบคุมดูแลการประกอบอาหารและการให้บริการแก่นักเรียนนักศึกษาให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและสุขลักษณะที่ดี

(15)      ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(16)                ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(17)      เสนอโครงการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น

(18)      รายงานการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามลำดับขั้น

(19)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 32    งานแนะแนวและสวัสดิการการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)  ปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศนักเรียนนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียน ความประพฤติ ระเบียบวินัย และข้อบังคับ การจัดทำสัญญาการเป็นนักเรียนนักศึกษารวมทั้งสวัสดิการและบริการ  ต่าง ๆ ของสถานศึกษา

(2)    ให้ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาในการลงทะเบียนเรียน

(3)  ให้ความเห็นชอบแก่นักเรียนนักศึกษาในการลงทะเบียนรายวิชา           การลงทะเบียนเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม และขอถอนรายวิชา การขอพักการเรียน การโอนย้าย การลาออก การขอผ่อนผัน หรือยกเว้นการชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชา ติดตาม แนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน การคำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ยแก่นักเรียน นักศึกษา

(4)    ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ แก่นักเรียน นักศึกษา

(5)  ให้คำปรึกษา แนะนำ ป้องกัน ตักเตือน ดูแล และปรับปรุงแก้ไขความประพฤติของนักเรียนนักศึกษาประสานงาน และรายงานผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา      ให้ผู้ปกครองทราบ

(6)  จัดทำ เก็บ รวบรวมประวัติ ข้อมูลการเรียน และพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษา เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการ การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ      และออกหนังสือรับรองต่าง ๆ

(7)  แต่งตั้งคณะกรรมการครูที่ปรึกษา จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานเป็นข้อมูล      ในการเครื่องมือแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับระบบครูที่ปรึกษา ประสานงาน และจัดการประชุมคณะกรรมการครูที่ปรึกษา จัดทำข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ประสานงานกับครูที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่นักเรียนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของครูที่ปรึกษา สรุปผลการประเมินและนำผลการประเมินเสนอฝ่ายบริหาร  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

(8)    สร้างระบบเครือข่ายการแนะแนวอาชีพร่วมกับหน่วยงานภาคนอก     ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน

(9)  รวบรวม เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลการศึกษาวิชาชีพ การประกอบอาชีพ การให้บริการข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งส่งเสริมการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ

(10)      ดำเนินการแนะแนวอาชีพพร้อมทั้งส่งเสริมการศึกษาต่อและ             การประกอบอาชีพอิสระ

(11)      ติดตามผลและรายงานผลการมีงานทำและการประกอบอาชีพ

(12)      งานกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดหาทุน และจัดสรรทุนเพื่อการศึกษา   และการประกอบอาชีพ

(13)      จัดสรรจัดทำสื่อเครื่องมือและนวัตกรรมทางการแนะแนว

(14)      ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(15)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(16)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 33       แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์และหัวหน้าแผนกวิชาชีพ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)   การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก กำหนดการสอบ แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น แบบบันทึกเวลาเรียน แผนการเรียนรู้ ฯลฯ ร่วมกับแผนกวิชาต่าง ๆ และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง จัดตารางสอนรวมและตารางสอนส่วนบุคคลของแผนกวิชา

(2)    จัดทำโครงการสอน และแผนจัดการเรียนรู้ของแผนกวิชา

(3)    แผนการฝึกเพื่อเตรียมบริการ วัสดุฝึก  ครุภัณฑ์  อุปกรณ์การศึกษา

(4)  ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน และการวัดผลประเมินผล ในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตร        และระเบียบแบบแผนของทางราชการ

(5)  ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้    คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงานให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน

(6)    สนับสนุนการพัฒนาการสอน การใช้อุปกรณ์การสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ

(7)  จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชา    ให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

(8)    ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชา        ให้เป็นไปตามใบงาน และประหยัด

(9)    รับผิดชอบ ดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารโรงเรือนให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ

(10)   ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา

(11)   ­ดูแล รักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลที่เกิดจากการเรียนการสอนของแผนกวิชา ตามที่ได้รับมอบหมาย

(12)      ­ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(13)      ­ เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(14)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 34    งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้

(1)  ส่งเสริมสนับสนุนให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่บุคลากร    ในสถานศึกษา จัดทำเอกสารประกอบการสอน สื่อการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสอน       และสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่

(2)    รวบรวม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าต่อการจัดการเรียน         การสอน

(3)    สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สื่อโสตทางการศึกษา เพื่อใช้ในการจัดเรียนการสอนตามความเหมาะสม

(4)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(5)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(6)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(7)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 35    งานวัดผลและประเมินผล มีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อไปนี้

(1)    พัฒนาการวัดผลและประเมินผล และเผยแพร่ให้บุคลากรในสถานศึกษาได้ทราบทั่วกัน

(2)  ประสานคณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพระดับสถานศึกษา      เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพระดับสถานศึกษา เช่น วางแผนจัดเตรียมเครื่องมือและวุฒิบัตร กำหนดวัน เวลา และสถานที่ประเมิน ประชุมชี้แจงขั้นตอนการประเมิน  ประเมินและสรุปผล ฯลฯ

(3)    กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและประเมินผล        ให้ถูกต้อง

(4)  รวบรวมผลสรุปการเรียนส่งงานทะเบียนเพื่อดำเนินการจัดทำรายงานผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) และตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ (PR) เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(5)    พิจารณาตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการโอนผลการเรียน การวัดผลและประเมินผลการเรียน

(6)    ตรวจสอบการให้ระดับคะแนนก่อนเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา       เพื่ออนุมัติผลการสอบ

(7)    ดำเนินการวิเคราะห์ข้อทดสอบและจัดทำข้อสอบมาตรฐาน

(8)  เก็บรักษาและทำลายเอกสารหลักฐานการประเมินผลการเรียนและเอกสารเกี่ยวกับงานวัดผลและประเมินผลการเรียนตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(9)    งานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

(10)                การเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนประสบการณ์และการศึกษาต่อเนื่อง

(11)      การพัฒนาการเรียนรู้

(12)      ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(13)                ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(14)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(15)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 36    งานวิทยบริการและห้องสมุด มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)    เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมและบุคคลทั่วไป

(2)    พัฒนาการบริการห้องสมุด ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษา

(3)    วางแผนพัฒนาห้องสมุด การให้บริการด้านเอกสารการพิมพ์ สื่อการเรียน       การสอน และโสตทัศนูปกรณ์

(4)  รับผิดชอบดูแล บำรุงรักษา วัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และให้    บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งห้องโสตทัศนศึกษา และศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

(5)  จัดหา  รวบรวมวัสดุ  สิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้บริการในการศึกษาค้นคว้าของครู นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป

(6)  ควบคุมดูแลห้องสมุด จัดหาหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์เข้าห้องสมุด          ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษา

(7)  วิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ และจัดทำเครื่องช่วยค้น เช่น ดรรชนีวารสาร บรรณานุกรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ

(8)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(9)    ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(10)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(11)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 37    งานทะเบียน มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)    จัดหาแบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานทะเบียน

(2)    ดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครนักเรียน นักศึกษา การตรวจหลักฐานต่าง ๆ 

(3)    ดำเนินการให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน นักศึกษา

(4)  ดำเนินการให้มีการลงทะเบียนรายวิชา ลงทะเบียนภายหลังกำหนดการขอพักการเรียนและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

(5)    จัดทำบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา

(6)  (6)ตรวจสอบรายชื่อ  นักเรียน นักศึกษาที่ไม่มีสิทธิ์สอบ ที่ต้องสอบแก้ตัว  สอบทดแทน  พ้นสภาพ  เพื่อรายงานให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบแล้วแต่กรณี

(7)  ประสานกับงานวัดผลและประเมินผล จัดทำรายงานผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) และตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ (PR) เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(8)  รับผลการประเมินผลการเรียนประจำภาค ซึ่งผู้อำนวยการสถานศึกษาพิจารณาเห็นชอบแล้วบันทึกลงในระเบียนแสดงผลการเรียน

(9)  ให้บริการเกี่ยวกับการออกหลักฐานทางการเรียน เช่น การออกสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน ใบรับรองผลการเรียน ประกาศนียบัตร ฯลฯ

(10)   รับและดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องต่าง ๆ ของนักเรียน นักศึกษาที่เกี่ยวข้อง   กับงานทะเบียน เช่น การลาออก การพักการเรียน การโอน ย้าย การเรียนภาคฤดูร้อน การขอเปลี่ยนชี่อ   ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด เป็นต้น

(11)      ส่งแบบสำรวจและรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียน รวมทั้งรายงานการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษา

(12)   จัดระเบียบและระบบการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานการลงทะเบียนและเอกสารอื่น ๆ  ตามความจำเป็นที่เกี่ยวกับงานทะเบียน

(13)      พิจารณาเสนอผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อทำลายเอกสารของงานทะเบียนตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(14)      ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(15)                ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(16)      เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(17)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 38    งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้

(1)   ประสานความร่วมมือและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา เช่น             การฝึกงาน การขอสนับสนุนทุนการศึกษา การแนะแนวเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษา  การประชาสัมพันธ์กิจการต่าง ๆ ของสถานศึกษา สารสนเทศด้านตลาดแรงงานของนักเรียนนักศึกษา การเยี่ยมชมกิจการของสถานศึกษา การจัดการประชุมสัมมนา โครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานภายนอก โครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ โครงการความช่วยเหลือจากภายนอก โครงการร่วมลงทุนเพื่อการศึกษา เป็นต้น

(2)    ดำเนินการจัดการความรู้โดยประสานความร่วมมือกับสถานประกอบการ หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการฝึกอบรม

(3)  จัดการฝึกอบรมและบริการวิชาชีพร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถไปประกอบอาชีพได้

(4)    ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

(5)          ดูแล  บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

(6)    เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น

(7)    ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย       

ข้อ 39    ให้สถานศึกษาจัดทำแผนภูมิการบริหารสถานศึกษา ตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้

 

 

 

หมวด 3

บุคลากรในสถานศึกษาและการบริหารงาน

 

ข้อ 40 บุคลากรในสถานศึกษา ประกอบด้วยประเภทและตำแหน่งดังต่อไปนี้

(1)    ข้าราชการครู ได้แก่ บุคคลที่มีตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอน ดังนี้คือ

ก.      ครู

ข.      ครูผู้ช่วย

(2)    บุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ บุคคลที่มีตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา ดังนี้คือ

ก.      ผู้อำนวยการวิทยาลัย

ข.      รองผู้อำนวยการวิทยาลัย

ค.   ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก... กำหนดหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก... นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(3)    บุคลากรอื่น ดังนี้

ก.      พนักงานราชการ

ข.      ลูกจ้างประจำ

ค.      ลูกจ้างชั่วคราว

นอกจากบุคลากรในสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งแล้วให้สถานศึกษาเชิญผู้เชี่ยวชาญ  ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคธุรกิจหรือเอกชน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาแต่ละสาขาวิชาที่เปิดทำการสอนด้วย                                     

ข้อ 41    ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นผู้บริหารสูงสุดของสถานศึกษา มีหน้าที่และ  ความรับผิดชอบบังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา บริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผน    การปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไป งานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้คือ

(1)  บังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

(2)    วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา

(3)  จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้          การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล

 

(4)  ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย          ทั้งในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย

(5)    จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา

(6)    บริหารงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน

(7)   วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ            การอุทธรณ์ และร้องทุกข์

(8)  จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา    ในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(9)    ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(10)   ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากร    เพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน

(11)      จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

(12)      จัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

(13)   เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป รวมทั้งการจัดทำนิติกรรมสัญญาในราชการของสถานศึกษาตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับ ตามที่ได้รับมอบอำนาจ

(14)      ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 42    รองผู้อำนวยการวิทยาลัย มีหน้าที่และความรับผิดชอบรองจากผู้อำนวยการวิทยาลัย โดยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการวิทยาลัยในการช่วยบริหารกิจการ     ของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแล เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไปและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ รองจากผู้อำนวยการวิทยาลัย โดยช่วยปฏิบัติราชการในเรื่องต่อไปนี้คือ

(1)    บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา

(2)    วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมิน และรายงานผลการจัดการศึกษา

(3)  จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้          การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล

(4)    ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัย

(5)    จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา

(6)    การบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่น

(7)  วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการ

(8)  จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา   ในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(9)    ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(10)   ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นในการระดมทรัพยากร    เพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน

(11)      จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา

(12)      จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

(13)      ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ 43    ครูผู้ช่วย มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน       การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา และมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้คือ

(1)  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้      ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(2)    จัดอบรมสั่งสอนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

(3)    ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา

(4)    ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

(5)    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ข้อ 44    ครู มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน และสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน            การบริการสังคมด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้คือ

(1)  ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(2)    จัดอบรมสั่งสอน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะที่    พึงประสงค์   

(3)    ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา

(4)    ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

(5)    ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนและสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

(6)    ทำนุบำรุง ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

(7)  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินพัฒนาการของผู้เรียนเพื่อนำมาพัฒนา        การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

(8)    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ข้อ 45 พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติ

ข้อ 46 หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในสถานศึกษาที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง แบบแผน และขนบธรรมเนียมของทางราชการ

ข้อ 47 ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้ง มอบหมาย และเปลี่ยนแปลงบุคลากร ในสถานศึกษาให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามระเบียบนี้ แล้วรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ

 

หมวด 4

คณะกรรมการในสถานศึกษา

 

ข้อ 48 ให้มีคณะกรรมการวิทยาลัย ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา

ข้อ 49 นอกจากคณะกรรมการวิทยาลัย ตามข้อ 48 แล้วผู้อำนวยการวิทยาลัยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา  เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารสถานศึกษาด้วยก็ได้ ประกอบด้วย

(1)    ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ

(2)    รองผู้อำนวยการวิทยาลัยทุกฝ่าย เป็นกรรมการ

(3)    ผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ฝ่ายละ 1 คน เป็นกรรมการ

(4)    ครูผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน เป็นกรรมการ

            ให้ประธานกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ

ข้อ 50 ครูผู้ทรงคุณวุฒิ ตามข้อ 49 มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1)  เป็นผู้มีอายุราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถานศึกษา จะแต่งตั้งผู้มีอายุราชการน้อยกว่า 5 ปี ก็ได้

(2)    เป็นผู้มีความรู้ มีความสามารถและมีประสบการณ์ดี

(3)    เป็นผู้มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

(4)    เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเสียสละ เพื่อความเจริญของสถานศึกษาอย่างแท้จริง

ข้อ 51 คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาอยู่ในตำแหน่งวาระละสองปีการศึกษา

ในกรณีที่กรรมการบริหารสถานศึกษาว่างลง หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้าเป็นตำแหน่งประธานกรรมการให้รองผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ถ้าเป็นตำแหน่งกรรมการหรือกรรมการและเลขานุการ      ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยแต่งตั้งกรรมการแทนตามข้อ 49 หรือข้อ 50 แล้วแต่กรณี และให้ผู้ที่ได้รับ   การแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่าเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการบริหารสถานศึกษานั้น ถ้าวาระของ   คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาที่มีตำแหน่งว่างลงหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้นั้นเหลือไม่ถึง  เก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งแทนก็ได้

ข้อ 52 คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารสถานศึกษา โดยพิจารณาให้ความเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้คือ

(1)    การจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนการปฏิบัติราชการรายปี

(2)    การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน

(3)    การพัฒนาหลักสูตร การเปิดสอนหรือการยกเลิกการสอนแผนกวิชาชีพสาขาต่างๆ

(4)    การกำหนดหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา

(5)    เรื่องอื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา

ข้อ 53 ให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ          1 ครั้ง ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ประธานกรรมการมอบหมายให้รองผู้อำนวยการวิทยาลัยคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม      ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถมอบหมายได้ให้ที่ประชุมเลือกรองผู้อำนวยการวิทยาลัย       คนหนึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม

 

 

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ถ้ามีวาระการประชุม           ที่มีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุมในวาระนั้นการวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงชี้ขาด

ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยรายงานผลการประชุม ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบทุกครั้ง ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประชุม

 

หมวด 5

บทเฉพาะกาล

 

ข้อ 54 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยคณะกรรมการวิทยาลัยตามข้อ 48      ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ตามข้อ 49 เพื่อทำหน้าที่คณะกรรมการวิทยาลัยไปพลางก่อน

ข้อ 55 สถานศึกษาใดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ แล้วให้สถานศึกษาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

 

ประกาศ ณ วันที่

 

 

 

                                                         

เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

แหล่งที่มา   http://www.vec.go.th/

 

 

 

ขอร่วมประชาพิจารณ์


-ร่าง-
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. .... (ฉบับปี พ.ศ. 2552)

(ร่าง)
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ lสมพงษ์ โลมะรัตน์  (124.157.149.*) [ 26 ธ.ค. 2549 14:35 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6


ผมเคยตั้งคำถามกรรมการปฏิรูปการศึกษา 2 ท่าน ว่าขบวนการจัดการออกแบบโครงสร้างการบริหารการศึกษา
ของประเทศไทยได้คำนึงถึงรากฐานของตนเอง(ประเทศไทย)แค่ไหน เพราะเห็นว่าหากไม่คำนึงถึงรากฐานของตนเอง
ซึ่งหมายความถึง
 (
1)สภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอย่างไร การบริหารจัดการเรื่องการกระจายรายได้
 การสร้างงานให้ประชนคนไทย เหมือนอเมริกา เหมือนอังกฤษ เหมือน ออสเตรเลีย ที่ไปเอาตันแบบการกระจายอำนาจ
ของเขามา
 
(2)ความพรัอมของท้องถิ่นซึ่งหมายถึงศักยภาพของคนเป็นสำคัญ ศักยภาพคนที่สำคัญคือระดับคุณธรรม จริยธรรม
 (
3) เรื่องวัฒนธรรมขององค์กร กรมเดิมแต่ละกรมในกระทรวง ในทบวง ได้สั่งสมวัฒนธรรมในองค์กรมายาวนาน
และเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งแตกต่างกัน จะนำทฤษฎีการบริหารใด เทคนิคการบริหารใดมาใช้
ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและสามารถหลอมรวมเข้ากันได้ มีคำถามต่อท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้นว่า พากันออกแบบโครงสร้างการบริหารใหม่ ออกแบบกฏหมายรองรับรูปแบบการบริหารใหม่
ด้วยภูมิปัญญาของคน 9 คน ให้คณะบุคคลอีกคณะหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจ คนตัดสินใจเป็นฝ่ายการเมือง
ไม่อยากจะเฃื่อถือหรอก เพราะพัฒนาการของพรรคการเมืองไทยก็อ่อนแอในทางจริธรรมมาโดยตลอด
 party แต่ละ Party ล้วนแล้วแต่เป็น derty party พอกันทุกพรรคนั่นแหละ ตัดสินใจให้นำมาให้บุคลากรทั้งหลาย
ในสังกัดเป็นผู้ปฏิบัติ ก็มีคำถามใหญ่ว่า ถ้าประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่เกิด แถมยังเพิ่มพูนปัญหาให้เกิดขึ้นกับประเทศไทย
 โดยเฉพาะเด็ก เยาวชนผู้ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองแทนกลุ่มตัวเองที่กำลังจะหมดไป
 ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับผลเสียที่เกิดขึ้น พากันข้ามขบวนการจัดการที่ดี ทั้งที่เป็นผู้ทรงวุฒิที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย
การประเมินผลระบบเดิม บอกว่าทำแต่ก็เหมือนไม่ทำ เพราะดูไม่ให้ความสำคัญ การทดลองระบบใหม่ก็สักแต่ว่าได้ทำแบบ
สุกเอาเผากิน จนถึงขณะนี้เด็กรุ่นใหม่ที่หัวสมองดีไม่มีค่านิยมอาชีพราชการ เขาพากันไปสู่อาชึพอื่นเป็นส่วนใหญ่
 อนาคตการจัดการศึกษาจะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กรุ่นต่อๆไป ถ้าระบบที่เป็นอยู่รองรับได้แต่กลุ่มคนที่เข้ามาทำงานแทน
ฃึ่งมี IQ อ่อนกว่า สรุปว่าผลของการปฏิรูปที่ไม่เข้าท่ามีผลกระทบต่อเด็กเยาวชนในรุ่นต่อๆไป มีผลกระทบต่อความมั่นคง
ในบทบาทหน้าที่ของภาครัฐโดยตรง สารพันปัญหาที่คนรุ่นหลังจะพาลทะเลาะกัน ยื้อแย่งโอกาสเพื่อตัวเอง
 กลุ่มพวกพ้องของตนเอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บอร์ดอาชีวศึกษา เห็นชอบตั้ง 19 สถาบันการอาชีวศึกษา
   ข่าวทั้งหมด
 
 1 เมษายน 2552


 

      
บอร์ดอาชีวศึกษา เห็นชอบตั้ง 19 สถาบันการอาชีวศึกษา


 

                 การประชุมคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ครั้งที่ 3/2552 ซึ่งมีศาสตราจารย์ธีรวุฒิ  บุณยโสภณ เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รวมกลุ่มสถานศึกษาอาชีวศึกษา จัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่ง เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่ละกลุ่มสถาบันได้มีการประสานความร่วมมือเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างความเข้มแข็ง เพื่อให้การผลิตและพัฒนากำลังคนระดับ ปวช. ปวส.มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนากำลังคน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามประกาศจัดตั้งซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงต่อไป ดังนี้


 

สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 1 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด นนทบุรี  ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาและสระบุรี 
สถานบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 2 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 3 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี  สระแก้ว  นครนายกและสมุทรปราการ
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 4 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคกลาง 5 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เพชรบุรี  สมุทรสาครและสมุทรสงคราม
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช  และพัทลุง
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 2 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ระนอง  พังงา  ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 3  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด สงขลา  สตูล ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออก ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด จันทบุรี  ชลบุรี  ระยองและตราด
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 1 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปางและลำพูน
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 2 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด น่าน พะเยา เชียงราย และแพร่
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 3 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ตาก  พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์และอุตรดิตถ์
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคเหนือ 4 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร  พิจิตร นครสวรรค์  และอุทัยธานี
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด หนองคาย เลย  อุดรธานีและหนองบัวลำภู
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด นครพนม  มุกดาหาร สกลนคร
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด ร้อยเอ็ด ขอนแก่น  มหาสารคามและกาฬสินธุ์
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด อำนาจเจริญ  ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี
สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัด สุรินทร์  นครราชสีมา บุรีรัมย์และชัยภูมิ
สถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วยสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

ทั้งนี้สถานศึกษาที่รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่ง ดังกล่าว ได้ผ่านการประเมินความพร้อมตามหลักเกณฑ์การประเมินที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้กำหนดขึ้นจำนวน 4  ด้าน ได้แก่ (1)ด้านครู และบุคลากรทางการศึกษามีจำนวนเพียงพอ  มีคุณวุฒิและประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดสอน และมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับ (2) ด้านความพร้อมของอาคารสถานที่  สถานที่ฝึกงานของนักเรียน  นักศึกษา  ครุภัณฑ์และทรัพยากรสนับสนุนการจัดการอย่างเพียงพอ (3) การบริหารจัดการมีเอกภาพ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ มีส่วนร่วมทางวิชาการ และความร่วมมือกับสถานประกอบการและชุมชน และ (4) ด้านแผนกลยุทธ์เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการกำลังคนในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ  มีการจัดทำแผนธุรกิจ และมีระบบการประกันคุณภาพ
         การรวมเป็นกลุ่มสถานศึกษาครั้งนี้ ยังไม่รวมถึงวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมง  ซึ่งคณะกรรมการมีมติ ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจไปประเมินความพร้อม โดยมีกรอบในการพิจารณาเป็น 2 แนวทาง ได้แก่การรวมกับสถาบันการอาชีวศึกษาในกลุ่มจังหวัดนั้น ๆ หรือรวมกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรจำนวน 4 แห่ง และรวมกลุ่มวิทยาลัยประมง จัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาประมง 1 แห่ง
        ส่วนการจะเปิดสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการในสถาบันการอาชีวศึกษาใด นั้น คณะกรรมการการอาชีวศึกษาจะกำหนดหลักการเกณฑ์ประเมินและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการออกไปประเมินความพร้อมในขั้นต่อไป   

 


 

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=8182&Key=news2

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 28    งานฟาร์มและโรงงาน

 

ข้าพเจ้า อยากให้ งานแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย( รับเย็บชุดนักเรียน -นักศึกษา )และชุดพื้นเมือง   อยู่ในข้อ 28ด้วย

นักเรียนจะได้มีเรียนแผนกผ้าเพิ่มขึ้น เพราะในสภาพปัจจุบัน  นักเรียนเรียนแผนกผ้า เหมือนเรียนเพื่อใช้แรงงาน ไม่ใช่เรียน เพื่อ ประกอบอาชีพอิสระ

หมดสมัยที่จะให้คณะคหกรรม( ผ้า ไปขึ้นกับงานการค้าแล้วค่ะเพราะค่าตอบแทนไม่เป็นธรรม

เราต้องการให้นศ.ผ้า ครบวงจร คิดเป็น  ทำเป็น จำหน่ายเป็น ค่ะ )

 

-----------

 

 

หมวด 4



 

คณะกรรมการในสถานศึกษา


 

1)    ผู้อำนวยการวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการ



 

(2)    รองผู้อำนวยการวิทยาลัยทุกฝ่าย เป็นกรรมการ



 

(3)    ผู้แทนจากฝ่ายต่าง ๆ ฝ่ายละ 1 คน เป็นกรรมการ



 

(4)    ครูผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน เป็นกรรมการ


 

ข้าพเจ้าขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ตรงนี้ว่า....



 

1.การบริหารแบบกระจายอำนาจ..ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  ประชาชนหรือชุมชนต้องเข้มแข็ง..(กรรมการวิทยาลัยต้องมาจาก..กลุ่มคนที่เลือกตัวแทนของตนขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง 



 

ไม่ใช่เฉกเช่นปัจจุบัน ที่อ้างมติกรรมการวิทยาลัย(ซึ่งผู้บริหารแต่ละฝ่ายเลือก ฝ่ายตนเอง ) หาใช่ตัวแทนของกลุ่มสมาชิกในองค์กรไม่

 

 

สถาบัน อาชีวศึกษาที่เปิดสอนคณะบริหาร ธุรกิจ     คณะคหกรรม  ???? สมควรแยก

คณะบริหารธุรกิจ และ คณะคหกรรมศาสตร์ 
ออกจากกันโดยสิ้นเชิง หรือ แยกสถาบันกันไปเลย  เนื่องจาก

  1.คณะคหกรรมศาสตร์+ ศิลป เน้น  เรียนเป็นโครงการ เรียนเป็นชิ้นงาน เป็น

ผลสัมฤทธิ์เชิงรูปธรรม เน้นวัฒนธรรม ประวัติ  เน้นความเป็นชาติ ความเป็นไทย

ความเป็นวัฒนธรรม  แนวคิด จินตนาการ ขายอุดมคติ เชิงอนุรักษ์   มากกว่า

ปริมาณ เชิงธุรกิจ  เป็น สาขางาน ที่ต้องอนุรักษ์ ธำรงรักษา  และช่วยกันดูแล

ฟื้นฟู เป็นความงามด้านจิตใจ  ผู้มาเรียน ผู้เข้ามาศึกษา เป็นผู้มีความงดงามด้าน

จิตใจ  ใจรักชาติ  เป็นสิ่งสำคัญ  ยิ่งในสภาวะปัจจุบัน สังคมบริหารธุรกิจ เชิง

พาณิชยการ  มากขึ้น  การเอาเปรียบ ฉกฉวย มือใครยาวสาวได้สาวเอา  โดยใช้

รูปแบบบริหาร แบบบูรณาการ หรือเรียก อย่างสวยหรู ตาม พรบ .นี้ว่า งานการค้า
(ทำไมไม่ให้ คหกรรม ผ้า ฯ เปิดตัวในข้อ 28 เปิดแบบงานเกษตร ครบวงจรไปเลย

 หรือจะจัดให้ผ้าเป็นโรงเรียนในโรงงาน บริหารตนเอง  อย่างนี้ น่าจะมีผู้เรียน

เข้ามาศึกษามากขึ้น กว่า ที่ สอศ.มาวางระเบียบข้อ 27

ข้อ 1 บางข้อออกไป )เพื่อความเป็นธรรมในสังคม

 

 

 

ภาพชุดพื้นเมืองวอศ.ลำปางปัจจุบัน
ตั้งแต่สร้างแบบ-ตัดเย็บ-รีด-ส่งงานการค้า ตัวละ 25 บาท(เฉพาะซิ่น)
 
บังคับซื้อปวช ปวส ชุดละ325 บาท(ทั้งชุด)
ค่าแรงไม่เป็นธรรม ผู้เรียนไม่อยากเย็บ-หากบังคับว่าต้องเย็บนะจึงจะจบ ปากต่อปากปีการศึกษาหน้า ก็ไม่มีผู้มาเรียน สมดังเจตนารมณ์ของสอศ.ที่ต้องการให้วอศ.ลำปางเน้นบัญชีเป็นเลิศ
 
 

ผ้าทอลำปางสวยๆ ทำไมไม่เลือก   แล้วเราจะปลูกฝังให้วัยรุ่น....รักษ์วัฒนธรรม(ทอผ้าล้านนา)ด้วยเหตุผลอะไร???
 

 

 

 


 และที่สำคัญยิ่ง  พอเป็นสถาบันเน้น เด่นเฉพาะทาง เช่น วอศ ลำปาง เน้น ด้าน

บัญชี ซี่งจากการประเมินภายนอกรอบ 2[วันที่ 25-26-27 กพ 51]สมศ. ได้ เสนอแนะข้อที่ควรพัฒนา คือ การจัดซื้อโปรแกรม expressด้วยราคาแพง  และ ปี งบประมาณ 2552 ช่วงมีค 52 ยังได้งบประมาณ อีก 1ล้าน 9 แสน 9 หมื่น ในเรื่องเดิม อีก    เพื่อดัน บัญชีให้เด่น  ข้าพเจ้า ขออนุญาตพิจารณ์ ระบบการบริหาร  ที่ต้องการให้สถาบันใด สถาบันหนึ่งเด่น เฉพาะทางว่าเป็นการบริหารที่ทำให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของ สอศ.  ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

  ถ้าจะถามว่า   ถ้าวอศ.ลำปางต้องการจะเด่นด้านบัญชี [ซื้อโปรแกรม expressด้วยราคาแพง] ครูที่สอนสาขาอื่นๆ ได้อะไร ? 
 สังคมได้อะไร? 
 สอศ ได้อะไร ?  นอกจาก  ก็แค่ ได้ เปิด เท่านั้น ในเชิงลึก แล้ว ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการบริหารงาน  ด้านการเงินของสอศ. คงจะเป็นปมด้อย มากกว่า เพราะล่าช้า
 สรุป ก็แค่ ได้เปิด เท่านั้น   เอกชนเปิดเต็มบ้านเต็มเมืองมีคุณภาพอยู่แล้ว...

 อนึ่ง พันธกิจ วิสัยทัศน์สอศ ก็เน้น ให้การศึกาาเสมอภาค เท่าเทียมกัน แต่ ในระบบสถานศึกษา ยังไม่สามารถปฎิบัติได้

 

 

บทสรุปสมศ วอศ ลป ประเมินภายนอกรอบ๒

 

 

ข้อสังเขปการพิจารณาความดีความชอบวอศ ลป    1เมย.52

 

 

 

ยิ่ง องค์กรใด จะ พัฒนาด้านใดด้านหนึ่งสู่ความเป็นเลิ( ต้องไม่ทำลายบุคคลอื่น/ เอาเปรียบ/(บูรณาการ)ดัน เสียบ  บุคคลอื่น สาขาวิชาอื่นๆ  องค์กรที่มีคุณธรรม ต้องไม่ทำให้บุคคลที่มีอยู่ในองค์กรด้วยรู้สึกว่ากำลังสูญเสีย ไม่ว่าทางนโยบาย หรือ การบริหารจัดการไม่มีคุณภาพ


 

หากผู้บริหารองค์กรหนึ่งองค์กรคิดได้แต่เพียงว่า นำสาขาใดสาขาหนึ่งสู่ความเป็นเลิศเพื่อการกอบโกยการบริหารจัดการ งบประมาณใด  สาขานั้นๆจะได้มากๆ ละก็  นั่นคือความล้มเหลว ขององค์กรนั้น อย่างน่าสมเพช 


 

ข้อเสนอแนะ   หากองค์กรใดต้องการสาขาใดสาขาหนึ่งสู่ความเป็นเลิศ ยิ่งต้องดูแลปกป้องผลประโยชน์ หาวิธีคิด (บริหาร-ค่าตอบแทน


 

อื่นๆ  ให้กับสาขาอื่นๆ ให้ดีเลิศกว่า )องค์กรนั้นจึงจะประสบความความสำเร็จ ไม่ใช่ถีบ ฉกฉวย บูรณาการจากผลผลิต/ผลงานของสาขาอื่นแล้วกอบโกย  ฯ

 

 

2 ขั้นวอศ.ลำปางปีนี้[ 1เมษายน52] แผนกบัญชี เหมาได้ไป 4  

นำทีมโดยหัวหน้าการเงิน (บ่อยมาก)  ลักษณะเช่นในแง่จิตวิทยา  จุ๊ จุ๊ จุ๊

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"ทศวรรษแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542”

มีทั้งหมด  76 หน้าคลิ๊กที่นี่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





เปิดใช้งาน
ลำดับที่ รายการ โดย วันที่เยี่ยม อ่าน ตอบ
258 <a href="http://pa Mateen 2017-01-09 0 0
257 <a href="http://bl Emmy 2017-01-09 0 0
256 <a href="http://th Rain 2017-01-04 0 0
255 <a href="http://ci Destrie 2016-12-22 3 0
254 <a href="http://fi Janessa 2016-12-06 1 0
253 <a href="http://po Benon 2016-11-10 1 0
252 <a href="http://ne Biana 2016-11-08 0 0
251 <a href="http://na Bobbe 2016-11-03 0 0
250 <a href="http://be Ollie 2016-11-02 0 0
249 food shot <a href=" Kamberley 2016-10-31 0 0
248 property <a href="h Carlynda 2016-10-30 1 0
247 <a href="http://pr Kameryn 2016-10-19 0 0
246 <a href="http://on Titia 2016-10-14 0 0
245 genital <a href="ht Beatrice 2016-10-12 0 0
244 <a href="http://ch Bones 2016-10-02 3 0
243 <a href="http://au Easter 2016-09-26 1 0
242 There are several th Lotta 2016-09-02 12 0
241 Comprehensive insura Nelle 2016-08-25 5 0
240 Comparing auto insur Gert 2016-08-24 3 0
239 Between your credit Arry 2016-08-09 2 0
238 Another difference t Adelie 2016-08-01 2 0
237 change your policy s Tessa 2016-07-24 1 0
236 For priceleast 4. cu Dweezil 2016-07-24 1 0
235 The recession and DI Latesha 2016-07-08 20 0
234 But, the truth we of Shermaine 2016-07-07 15 0
233 It is easy the drivi Shirley 2016-07-06 4 0
232 Most companies want Jhett 2016-07-05 4 0
231 Also, with monthly n Daisy 2016-07-05 4 0
230 If your parents the Lakesha 2016-07-04 2 0
229 An additional advant Leaidan 2016-07-03 2 0
228 This coverage brings Lynell 2016-07-01 19 0
227 For e.g.: age, of ag Lois 2016-06-22 3 0
226 There is a well have Mahalia 2016-06-20 2 0
225 Suppose you find be Rayshelon 2016-06-15 12 0
224 If you have contract Cheyanne 2016-06-13 2 0
223 Really in-depth plan Coralyn 2016-06-11 2 0
222 If you have There on Viney 2016-06-04 4 0
221 Grade A stuff. I'm < Kindsey 2016-05-29 2 0
220 Your post has moved Seston 2016-05-29 2 0
219 จากที่พัก - ถึงสถานที่ทำงาน...เส้น ทาง ...ต้องผ่าน.... ปิดทองหลังพระ 2013-06-20 74 0
218 วิทยาลัยอาชีว ...นี่ ถ้าได้ ผู้อำนวยการที่ ดีดี...สอศ. น่าจะไปได้ไกลกว่านี้ มาก เลยนะ.....ประเทศชาติ คนไทย 2013-06-20 29 0
217 ประกาศรายชื่อเยาวชนไทยรับรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากอาชีวะในผลงานส่งเข้าประกวด 7 ประเภท http://industrialclothingdesign.com/ 2012-03-13 83 0
216 ผลการแข่งทักษะวิชาชีพ ทักษะวิชาพื้นฐาน และการประกวดสิ่ง ประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ 2554 จ.แพร่ เพิ่มเติมผล ฯระดับชาติ จ ระยอง4 กพ55 2012-01-01 405 0
215 นับถอยหลังวันสิ้นโลก ตอนที่1 สิบคำทำนายสะท้านโลก http://www.youtube.com/watch?v=8HRvrvvT1K4&feature 2011-11-28 128 0
214 ระบบการศึกษาเป็นแบบคอขวด http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID 2011-11-16 161 0
213 สาส์นจากผู้นำ ... นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง 30กย54 INDUSTRIALCLOTHINGDESIGN .com 2011-10-23 17 1
212 การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม มาเสริมสร้าง http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B 2011-10-08 201 0
210 ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ปร สนับสนุน กศน.พุ่งเป้าพัฒนาการศึกษาอาชีพเน้นมีงานทำ 2011-10-07 207 1
207 Hi :Jocvso : address : http://www.gefreiter-jonas.net/forum/profile.php?id=370668 industrialclothingdesign.com 2011-10-04 5393 0
206 Webboard www.sasithara.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard... http://www.sasithara.com/index.php?lay=show&ac=web 2011-10-04 5579 0
205 ติดตามภาระกิจ นายสมบัติ แสงสว่างสัจกุล 1 คต.54รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา l-a-m-b 2011-10-03 268 2
203 พระเจ้าทรงมีชัยเหนือศัตรู wongsansernw_wiwien@hotmail.com 2011-09-18 203 0
202 สนับสนุน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนางบุญรื่น ศรีธเรศ และนาย INDUSTRIALCLOTHINGDESIGN .com 2011-08-19 330 2
201 http://www.youtube.com/watch?v=C5_3bnMk5AE http://www.youtube.com/watch?v=C5_3bnMk5AE 2011-07-29 285 1
196 คลับแอสทีเรีย สร้างรายได้เกษียณให้กับทุกคน สมาชิก 2011-06-16 300 0
194 แนะนำเวป ดีไซน์เนอร์ ตัวจริง อัศวิน พุทธสานส์ http://size88.blogspot.com/ http://size88.blogspot.com/ 2011-06-12 16 2
189 ข้อเเสดงความคิดเห็น เกณฑ์ ประเมินสถานศึกษารอบ 4 [2559-2563] สมศ. เฝ้าระวังวัฒนธรรมไทย 2011-05-15 387 0
181 เจ็บแล้วจำเป็นคนเจ็บแล้วทนเป็น"ควาย อย่าพายเรือให้โจรนั่ง......เตือน 2011-02-18 315 0
180 (ร่าง) คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ” สอศ. (ร่าง) คุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2011-01-14 2199 0
178 “พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน” เกียรติแห่งวิชาชีพ “เรือจ้าง” ขอพระองค์ทรงพระเจริญมีพระชนม์อายุยิ่งยืนนาน 2011-01-10 496 0
163 ผ้าทอ เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลำปาง ครูสุรภี 2010-09-19 339 0
154 กรณีศึกษาอำเภอแจ้ห่ม แม่ทะ แม่เมาะ และอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รองศาสตราจารย์ ดร. บุญฑวรรณ วิงวอน 081-8823465 2010-04-12 730 1
151 ศธ.จัดสัมมนาแนวทางขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา \\\\\\\"สี่ใหม่\\\\\\\" อย่างเป็นรูปธรรม in 2010-02-12 579 2
136 โรงเรียนพระดาบส - โอกาสที่สองของชีวิต indus 2009-11-09 1243 8
116 ถึงอ. สุรภี ปราณี แซ่หาญ 2009-08-16 493 1
86 รายงานผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะวิชาพื้นฐาน ในกิจกรรมการประชุมทางวิชการ http://www.svsc.moe.go.th/httpdoc/ 2009-05-09 296 0
54 คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อการออกแบบเสื้อผ้า และแฟชัน ครู 2009-01-10 10770 5
22 แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น เขตพื้นที่การศึกษา ลำปาง เขต 2 การทอผ้าสไบ ตีนจก surapee 2008-06-29 462 1
[ ตั้งถามใหม่ | จํานวนสมุดเยี่ยมชมทั้งหมด]

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





สำหรับสมาชิกเท่านั้น
[ ย้อนกลับ ]