อศจ.เชียงใหม่

 อศจ.แพร่

อศจ.ลำพูน

อศจ.ลำปาง

 อศจ.น่าน

อศจ.แม่ฮ่องสอน

 อศจ.เชียงราย

อศจ.ตาก

อศจ.สุโขทัย

อศจ.พะเยา

 อศจ.พิษณุโลก

อศจ.อุตรดิตถ์

 อศจ.พิจิตร

อศจ.กำแพงเพชร

อศจ.เพชรบูรณ์

รายงานผลการนิเทศติดตาม

โครงการคุณธรรมนำความรู้คู่ประชาธิปไตย

ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง

เขตภาคเหนือ

นายสุบิน แพทย์รัตน์



ศูน ย์ส่ง เ ส ริม แ ล ะ พัฒ น า อ า ชีว ศึก ษ า ภ า ค เ ห นือ

 

 

นายสุบิน แพทย์รัตน์
ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานกิจการนักศึกษาและกิจการนิสิต
2556
http://pdo.vec.go.th/

สรุป ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะวิชาชีพฐาน ที่ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศงานมหกรรมอาชีวศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 22 ประจำปีการศึกษา 2555

 

ศูนย์ส่งเส ริม แ ล ะ พัฒ น า อ า ชีว ศึก ษ า ภ า คเ ห นือประจำปีงบประมาณ 2551

คำนำ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของนโยบายเร่งรัดการ

ปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นฐานของกระบวนการเรียนรู้ และกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม

คุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาขึ้น โดยให้สถานศึกษาดำเนินกิจกรรมคุณธรรมนำ

วิชาชีพสู่การปฏิบัติ ให้ครูสามารถสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสู่บทเรียน และสามารถจัดกิจกรรมที่

ส่งเสริมด้านคุณธรรมเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นคนดีในสังคม สามารถ

นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือมีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษา

สามารถดำเนินงานตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผล ดังนั้นจึงได้ดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผลโครงการคุณธรรมนำความรู้ ของปี

การศึกษา 2551 ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552 จำนวน 15 อาชีวศึกษาจังหวัด ใช้

งบประมาณทั้งสิ้น 211,374 บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันสามร้อยเจ็ดสิบสี่บาทถ้วน) วิธีการนิเทศคือ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่เป็นตัวอย่างการดำเนินการได้ดีที่สุด (The Best

Practice) มีการจัดทำแผนคุณธรรมนำวิชาชีพประจำปีการศึกษา 2552 ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา

ภาคเหนือได้ทำการรวบรวมแผนคุณธรรมประจำปีการศึกษา 2552 ของสถานศึกษาในเขตภาคเหนือ 15

จังหวัด จำนวน 71 สถานศึกษา เพื่อช่วยให้สถานศึกษาได้พัฒนาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการให้เกิด

ประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อผู้เรียนและสถานศึกษาอย่างยั่งยืน และเป็นข้อมูลสำหรับสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้ในการติดตามประเมินผล และวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

ต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ

15 กรกฎาคม 2552

ชื่อโครงการ โครงการนิเทศติดตามและประเมินผลโครงการคุณธรรมนำความรู้

ปีการศึกษา 2551 และจัดทำแผนคุณธรรมประจำปีการศึกษา 2552

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ศูนย์ส่งเสริมละพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ

ระยะเวลาดำเนินการ มีนาคม 2552

1. หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (..2550 – 2554) ได้กำหนดทิศทางในการ

พัฒนาประเทศสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น

ชุมชนเข้มแข็ง กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ ได้

ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

แก่นักเรียน นักศึกษา อันจะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ สามารถดำรงชีวิต

อยู่ในสังคมได้อย่างดีและมีความสุข จึงได้ประกาศนโยบายและทิศทางหลักในการปฏิรูปการศึกษา โดยยึด

คุณธรรมนำความรู้ในการจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2546 มาตรา 6 ที่มุ่งเน้น

พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ให้มีความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมใน

การดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็น

หน่วยงานที่มีภาระหน้าที่ในการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของนโยบาย

เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้ สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าของปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นฐานของกระบวนการเรียนรู้ โดยกำหนดให้มีการจัด

กิจกรรมส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาขึ้น และกำหนดเป้าหมายให้

ผู้บริหารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดำเนินกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้สู่การปฏิบัติ ให้ครู

สามารถสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมสู่บทเรียน และสามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมได้ ให้

นักเรียน นักศึกษาได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นคนดีในสังคม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ศูนย์

ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือมีภาระหน้าที่ในการสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถ

ดำเนินงานตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผล ดังนั้นจึงได้รับมอบหมายให้นิเทศติดตามและประเมินผลโครงการคุณธรรมนำความรู้ ปี

การศึกษา 2551 และจัดทำแผนคุณธรรมประจำปีการศึกษา 2552 ของสถานศึกษาในเขตภาคเหนือ 15

จังหวัด จำนวน 71 สถานศึกษา

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อนิเทศติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมใน

สถานศึกษา ปีงบประมาณ 2551

2.2 เพื่อให้สถานศึกษาคัดเลือกกิจกรรมดีเด่น(The Best Practice) ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2551

2.3 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านคุณธรรม จริยธรรมในระดับสถานศึกษาและระดับอาชีวศึกษาจังหวัด

ปีงบประมาณ 2552

3. เป้าหมาย

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน

สถานศึกษา 71 แห่ง

4. วิธีการนิเทศติดตาม

รูปแบบการนิเทศติดตามและประเมินโครงการคุณธรรมนำความรู้ ปีการศึกษา 2551

4.1 ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือจัด/ให้อาชีวศึกษาจังหวัดจัดการประชุมแต่ละ

จังหวัด

4.2 ให้สถานศึกษานำเสนอข้อมูล กระบวนการ ในการดำเนินงานตามโครงการคุณธรรมนำความรู้

ที่สถานศึกษาดำเนินการได้ดีเยี่ยม โดยอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอปัญหา/อุปสรรค และ

ข้อเสนอแนะ สถานศึกษาละ 10 นาที

4.3 ในที่ประชุมร่วมกันคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่เด่นที่สุด และสรุปเป็น The best practice ของ

อาชีวศึกษาจังหวัด

(เลือกเพียง 1 โครงการ/กิจกรรม) จากนั้นให้อภิปรายถึงกระบวนการที่ทำให้

ประสบผลสำเร็จ แนวทางการพัฒนา ปัญหา/อุปสรรค

4.4 วางกรอบ/แผนงานโครงการคุณธรรมนำความรู้ ประจำปีการศึกษา 2552 ของแต่ละสถานศึกษา

และของอาชีวศึกษาจังหวัด


 

5. กำหนดการประชุมการติดตามและประเมิน

เวลา เรื่อง

08.30 – 12.00 . - อาชีวศึกษาจังหวัดดำเนินการจัดประชุมชี้แจงรายละเอียด วิธีการ

เกณฑ์การคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่เด่นที่สุดของสถานศึกษา

และสรุปเป็น The best practice ของอาชีวศึกษาจังหวัด

- สถานศึกษานำเสนอโครงการคุณธรรมนำความรู้ที่ดีเด่น

(สถานศึกษาประมาณ 10 นาที)

- อภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสู่ความสำเร็จ ปัญหา/

อุปสรรค และแนวทางการพัฒนา

- คัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่เด่นที่สุดของสถานศึกษา และสรุป

เป็น The best practice ของอาชีวศึกษาจังหวัด

13.00 – 16.30 . - จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการคุณธรรมนำความรู้

ประจำปีการศึกษา 2552

หมายเหตุ กำหนดการนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

5. วิทยากร จาก สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ

6. งบประมาณ

6.1 ค่าใช้จ่ายในการไปราชการของครูจากสถานศึกษาเบิกจ่ายจากสถานศึกษาต้นสังกัด

6.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจัดประชุมเบิกจ่ายจากงบประมาณของโครงการอบรมเชิง

ปฏิบัติการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการบริหาร

สถานศึกษา และในการจัดการเรียนการสอน และเผยแพร่ให้ความรู้แก่ครูในสถานศึกษาได้

7.2 ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ

เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา

ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 เป็นต้นไป


 

8. การนิเทศติดตามผลและประเมินผล

8.1 ประเมินการจัดประชุมปฏิบัติการฯ หลังเสร็จการจัดประชุม

8.2 นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

8.3 ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552

(ลงชื่อ) ผู้เสนอโครงการ

(นางสาวอรนุช สิริกุลขจร)

ผลการพิจารณา ………………………………………………………………………….

(ลงชื่อ) ผู้อนุมัติ

(นายสุบิน แพทย์รัตน์)

ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ

 

 

 

 

 


ผลการนิเทศ

1. อาชีวศึกษาจังหวัด เชียงใหม่

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ โครงการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม

2. วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง โครงการคุณธรรมนำความรู้สู่

ประชาธิปไตย กิจกรรม คุณธรรมนำ

ความรู้วันศุกร์

3. วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง โครงการตามรอยคนดี

4. วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ โครงการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรม

5. วิทยาลัยการอาชีพฝาง โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเลี้ยง

สุกรแบบคอก บังเกอร์

6. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

เชียงใหม่

โครงการเพิ่มผลผลิตในนาด้วย

เทคโนโลยีชีวภาพ

7. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ โครงการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยแต่งกายพื้นเมืองThe Best Practiceระดับ อศจ.

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

1. โครงการของ อศจ.เชียงใหม่เป็นโครงการที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งร่วมกิจกรรมเข้าวัด สวดมนต์

(วช.เชียงใหม่, วก.จอมทอง, วท.เชียงใหม่) การพัฒนาสถานศึกษา (วท.สันกำแพง) กิจกรรมด้าน

การเกษตร(วก.ฝาง, วษท.เชียงใหม่) และการร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (วอศ.เชียงใหม่)

2. โครงการของบางสถานศึกษาจะสอดคล้องกับงานในโครงการอื่น มากกว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริม

คุณธรรม (โครงการร่วมด้วยช่วยประชาชน) และเป็นงานให้ความรู้และบริการชุมชน (วก.ฝาง-

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเลี้ยงสุกรแบบคอกบังเกอร์)

3. โครงการของบางสถานศึกษาขยายผลเฉพาะกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ไม่ได้เล็งเป้าหมายไปที่นักเรียน

นักศึกษาส่วนใหญ่หรือทั้งหมด (วท.สันกำแพง-โครงการตามรอยคนดี)

4. การให้คะแนนไม่มี rubic ทำให้ได้คะแนนที่ไม่เที่ยง

5. ควรให้ อศจ. แต่งตั้งกรรมการให้คะแนนไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่คนเดียวกันที่จะทำหน้าที่นำเสนอ

ผลงาน จะได้ไม่กังวลกับงานของตน จนมีผลกระทบต่อการให้คะแนน

 

 

 


 

2. อาชีวศึกษาจังหวัด ลำปาง

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง โครงการฟื้นฟูศีลธรรมนำวิชาชีพ

2. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง โครงการคุณธรรมนำความรู้และพิธี

ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

3. วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา โครงการวีสตาร์ คลับ KIEC Gang The Best Practiceระดับ อศจ.

4. วิทยาลัยเทคนิคลำปาง โครงการค่ายคุณธรรมนำความรู้ นักศึกษา

ใหม่

5. วิทยาลัยการอาชีพเถิน - ไม่ได้เข้าประชุม

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

1. มีการนำเสนอโครงการที่เน้นในการร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ วีสตาร์ โดยการมีส่วนร่วมใน

ระดับผู้บริหาร ครูและนักเรียน เช่น การเข้าร่วมสัมมนาโครงการปฏิบัติธรรมฯ ที่ สวนพนาวัฒน์ อ.

ฮอด จ.เชียงใหม่ และมีการแต่งตั้งคณะทำงานและขับเคลื่อนโดยให้ทีมนักเรียน R-V-Star (วิทยาลัย

สารพัดช่างลำปาง) และ วีสตาร์ คลับ KIEC Gang (วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา)

2. โครงการและกิจกรรมทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ทำร่วมกับวัด ได้แก่ โครงการคุณธรรมนำ

ความรู้และพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ (วอศ.ลำปาง), โครงการค่ายคุณธรรมนำความรู้

นักศึกษาใหม่ (วท.ลำปาง) ยังไม่นับรวมอีกสองวิทยาลัยที่กล่าวมาข้างต้น

3. การทำโครงการอื่นที่สนับสนุนและต่อเนื่องจากโครงการเดิมของบางสถานศึกษา ทำให้นักเรียน

ได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้ในเรื่องคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น

โครงการคุณธรรมนำความรู้และพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง เมื่อ

ดำเนินการไปแล้ว ก็มีกิจกรรมอื่นที่สนับสนุนต่อจากโครงการนี้ได้แก่ อบรมคุณธรรม ทุกวันศุกร์

ตลอดภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2, กิจกรรมทำบุญตักบาตรปีใหม่, กิจกรรมวันพ่อ, กิจกรรมวัน

แม่, กิจกรรมทำสมาธิก่อนเรียน, กิจกรรมยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่มีความซื่อสัตย์, กิจกรรมบันทึก

ความดี, กิจกรรมนิทานคุณธรรม 8 ประการ, กิจกรรมบันทึกรายรับ – รายจ่าย – เงินออม เพื่อพ่อ

4. โครงการได้ปฏิบัติจนกลายเป็นงานปกติของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆ และพัฒนาปรับปรุงแก้ไขข้อ

ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการของปีก่อนให้ดีขึ้น

5. การนำเสนอโครงการบางสถานศึกษา ยังมองไม่เห็นว่า ได้มีการปลูกฝังคุณธรรม 8 ประการอย่าง

ต่อเนื่อง โดยนำเสนอเฉพาะการทำกิจกรรมเพียง 2-3 วัน ซึ่งการอบรมที่ใช้เวลาที่กำหนดดังกล่าว

แล้วไม่มีกิจกรรมอื่น ๆ สนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมอย่างต่อเนื่องอย่างไร

6. การให้คะแนนไม่มี rubic ทำให้ได้คะแนนที่ไม่เที่ยง

7. ควรให้ อศจ. แต่งตั้งกรรมการให้คะแนนไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่คนเดียวกันที่จะทำหน้าที่นำเสนอ

ผลงาน จะได้ไม่กังวลกับงานของตน จนมีผลกระทบต่อการให้คะแนน


 

3. อาชีวศึกษาจังหวัด เชียงราย

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย โครงการจริยธรรม คุณธรรมบนพื้นฐานของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามThe Best Practiceระดับอศจ.

2. วิทยาลัยการอาชีพเชียงราย โครงการใกล้วัดใกล้ธรรม “บวชสามเณร

ภาคฤดูร้อน” ประจำปี 2551

3. วิทยาลัยการอาชีพเทิง โครงการพุทธบุตร

4. วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก

เชียงราย

โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม

นักศึกษา

5. วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง โครงการคุณธรรมนำความรู้นักศึกษา

6. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

เชียงราย

โครงการพัฒนาแผนปฏิบัติการระบบดูแล

ช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาตาม

กระบวนการบริหารงานคุณภาพ

TOPSTAR

7. วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย โครงการคุณธรรมนำความรู้นักศึกษา

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

1. โครงการส่วนใหญ่ของ อศจ. เป็นโครงการที่มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการเข้าวัดและสวดมนต์ ได้แก่

โครงการจริยธรรม คุณธรรมบนพื้นฐานของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม (วอศ.เชียงราย), โครงการ

ใกล้วัดใกล้ธรรม “บวชสามเณรภาคฤดูร้อน” ประจำปี 2551 (วก.เชียงราย), โครงการพุทธบุตร (วก.

เทิง), โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษา (วท.กาญจนาภิเษกเชียงราย), โครงการคุณธรรม

นำความรู้นักศึกษา (วก.เวียงเชียงรุ้ง, วท.เชียงราย)

2. เป็นโครงการที่สถานศึกษาทุกแห่งทำเป็นเรื่องปกติที่จัดเป็นแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาอยู่แล้ว

และทำต่อเนื่อง และยังไม่สามารถนำเสนอโครงการใดเป็น the best practice ของสถานศึกษาได้

3. ผู้นำเสนอโครงการบางสถานศึกษาไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ โดยตรง แต่ได้รับการ

มอบหมายให้มานำเสนอแทน เนื่องจากบุคลากรที่รับผิดชอบมีภารกิจอื่นที่ต้องรับผิดชอบภายใน

เวลาเดียวกัน


4. อาชีวศึกษาจังหวัด พะเยา

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยการอาชีพดอกคำใต้ โครงการจัดสอบธรรมศึกษาชั้นตรี โท

เอก

2. วิทยาลัยเทคนิคพะเยา โครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์The Best Practiceระดับอศจ.

3. วิทยาลัยการเชียงคำ โครงการเข้าค่ายพุทธบุตร

4. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

พะเยา

โครงการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ

นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลังการเข้าอบรม

คุณธรรม

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

1. เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องจากปีก่อนและเพิ่มกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องสอดรับกับโครงการหลัก

เช่น โครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ (วท.พะเยา) มีโครงการที่

เกี่ยวข้องได้แก่ โครงการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกวินัยจราจรในสถานศึกษา (ขับรถรณรงค์ไปใช้

สิทธิ์, กิจกรรมขับขี่เปิดไฟ-สวมหมวกนิรภัยต้านภัยยาเสพติด), โครงการ “ขับขี่ปลอดภัย มีใบขับขี่”

โครงการส่งเสริมคุณธรรมในสถานศึกษา (วก.ดอกคำใต้) มีโครงการที่เกี่ยวข้องได้แก่ โครงการ

อบรมคุณธรรม จริยธรรมและพัฒนาจิตในสถานศึกษา, โครงการจัดสอบธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก,

โครงการอบรมมารยาทไทย, โครงการทำบุญตักบาตรข้าวสารและอาหารแห้ง

2. โครงการได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภายในจังหวัดและมีเครือข่ายการทำงาน เช่น โครงการ

สร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ (วท.พะเยา) มีเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับ

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดพะเยา, สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพะเยา,

ขนส่งจังหวัดพะเยาและบริษัทไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด โครงการจัดสอบธรรมศึกษาชั้นตรี โท

เอก (วก.ดอกคำใต้) มีเครือข่ายการทำงานร่วมกับคณะสงฆ์อำเภอและตำบล โรงเรียนสังกัด สพฐ.

ที่เปิดสอนธรรมศึกษา และโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สอนพระภิกษุ สามเณร โครงการการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลังการเข้าอบรมคุณธรรม (วษท.พะเยา) มีเครือข่าย

เรือนจำจังหวัดพะเยา, สาธารณสุขจังหวัดพะเยาและพระสงฆ์

3. การทำโครงการที่ใช้งานวิจัยมาช่วยสนับสนุนงาน ทำให้เห็นกระบวนการขั้นตอน กรอบการทำงาน

ที่ชัดเจน มีการรายงานผลอย่างมีระเบียบแบบแผน ดังเช่น โครงการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ

นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลังการเข้าอบรมคุณธรรม (วษท.พะเยา) โดยการคัดกรองนักศึกษาที่มีพฤติกรรม

เสี่ยง จำนวน 15 คน โดยที่จำนวน 15 คนนี้รวมอยู่ในจำนวนของนักศึกษาทั้งหมด 86 คน ที่นำมาใช้

ในการวิจัย ซึ่งงานวิจัยได้กำหนดมิติของปัญหาอยู่ 4 มิติ ก็เป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจ

4. การดำเนินการโครงการคุณธรรมฯ มีความชัดเจนและเข้าใจวิธีการที่จะทำให้งานในโครงการนี้เป็น

งานประจำและเป็นงานปกติ ที่สถานศึกษาจะต้องปฏิบัติพร้อมสำหรับรับการประเมินของ

หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็น การประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอก สมศ. การติดตามโครงการ

คุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การติดตามนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่

สถานศึกษา


5. อาชีวศึกษาจังหวัด ลำพูน

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง โครงการกินแล้วเก็บ

2. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูนโครงการพี่ชวนน้องมาเรียน The Best Practiceระดับอศจ.

3. วิทยาลัยเทคนิคลำพูน โครงการ Hotline สายด่วน

4. วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง - ไม่ได้เข้าประชุม

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

1. กิจกรรมที่ อศจ.ลำพูนดำเนินการในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมทุกสถานศึกษาค่อนข้างแตกต่าง

จาก อศจ. อื่น ๆ ที่ไม่ได้เน้นการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนา แต่มุ่งปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8

ประการเป็นหลัก เช่น โครงการพี่ชวนน้องมาเรียน, โครงการกินแล้วเก็บ, โครงการ Hotline สาย

ด่วน

2. เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องจากปีก่อนแล้วนำมาพัฒนาให้ดีขึ้น

3. เป็นโครงการที่นำเอาหลักของ PDCA มาปรับกับการทำงาน โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก

ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา เช่น โครงการพี่ชวนน้องมาเรียน (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน) เริ่ม

ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนจากชื่อเดิม โครงการพี่ชวนน้อง เพื่อให้ชัดเจนกับวัตถุประสงค์โครงการ การ

แก้ปัญหาระยะทางในการเดินทาง โดยตัดจังหวัดเชียงรายออกจากจังหวัดที่เป็นเป้าหมายของปีก่อน

จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ไม่เฉพาะเจาะจงแต่ปวช. 3 โดยให้นักเรียนแกนนำกลุ่มนี้

หาเครือข่ายการทำงานให้กว้างขึ้น จำนวนโครงการที่นักเรียนดำเนินการเพิ่มขึ้น จาก 5 โครงการ

เป็น 10 โครงการ ในเขต 4 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และลำปาง การแก้ปัญหา

เรื่องเงินงบประมาณในการดำเนินการ การหาแหล่งเงินบริจาคสำหรับโครงการ

4. การติดตามโครงการคุณธรรมเป็นช่วงเดียวกันกับการจัดกิจกรรมลูกเสือของ สอศ. ซึ่งรอง

ผู้อำนวยการฝ่ายที่รับผิดชอบจะเป็นคนคนเดียวกันทั้งสองงาน จึงเกิดปัญหาในระยะแรกที่จะติดขัด

ไม่สามารถดำเนินการในการนำเสนอและนำผลการดำเนินการของโครงการฯ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

อศจ. ควรประสานยืนยันการประชุมกับสถานศึกษาล่วงหน้า ก่อนการประชุม เพื่อมีความพร้อม

ยิ่งขึ้น


6. อาชีวศึกษาจังหวัด น่าน

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

วิทยาลัยเทคนิคน่าน โครงการอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้วยคุณธรรมนำความรู้The Best Practiceระดับ อศจ.

วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา โครงการออมเพื่ออนาคตภายใต้

โครงการคุณธรรมนำความรู้

วิทยาลัยการอาชีพปัว โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกภายใต้

โครงการคุณธรรมนำความรู้

วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน โครงการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือวิสามัญ

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

อาชีวศึกษาจังหวัดน่านดำเนินการคัดเลือกโดยแต่งตั้งคณะกรรมการซึ่งคัดเลือกจากตัวแทน

สถานศึกษาทั้ง 4 แห่ง ๆ ละ 1 คน ใช้แบบพิจารณาคัดเลือกโครงการ/กิจรรมดีเด่นระดับ

อาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์ แต่ละสถานศึกษาจะนำเสนอข้อมูลผลงานตามตารางการนิเทศที่ศูนย์

ส่งเสริมฯภาคได้กำหนดไปให้ ซึ่งผลการพิจารณาไม่มีข้อขัดแย้งและเป็นผลการพิจารณาที่พึงพอใจ

ของทุกสถานศึกษา

สถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดน่านแต่ละแห่งจะมุ่งให้ผู้เรียนมีคุณธรรม โดยการปลูกฝัง

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการเพื่อให้เป็นคนดี เก่ง มีสุข และจะพยายามมุ่งมั่นและแข่งขันเพื่อให้

สถานศึกษาของตนเองได้เป็นตัวแทนในระดับอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน


7. อาชีวศึกษาจังหวัด แพร่

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

วิทยาลัยเทคนิคแพร่ บวชเณรเฉลิมพระเกียรติ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ โครงการอบรมคุณธรรมนำความรู้คู่วิชาชีพ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่โครงการคุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การส่งเสริมทำโครงการวิชาชีพภายใต้การนิเทศเพื่อพัฒนาระดับของสมาชิก อกท.หน่วยแพร่The Best Practiceระดับ อศจ.

วิทยาลัยสารพัดช่างแพร่

โครงการคุณธรรมนำความรู้คู่

ประชาธิปไตย วัฒนธรรมในสถานศึกษา

(ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง)

วิทยาลัยการอาชีพสอง อบรมแกนนำคุณธรรมนำความรู้คู่

ประชาธิปไตย

วิทยาลัยการอาชีพลอง - ไม่ได้เข้าร่วม

ประชุม

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

ในการพิจารณาของสถานศึกษาในอาชีวศึกษาแพร่ได้พิจารณาเกณฑ์ และมีการพูดคุยกัน

ของตัวแทนแต่ละสถานศึกษา โดยการนำเสนอผลงานของแต่ละสถานศึกษา ไม่มีการแต่งตั้ง

กรรมการพิจารณาแต่นำเกณฑ์การพิจารณามาพูดคุยกัน และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้วิทยาลัยเกษตร

และเทคโนโลยีแพร่เป็นตัวแทนของอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่

ในภาพรวมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ บุคลากรทุกระดับของสถานศึกษามี

ความรับผิดชอบที่จะดำเนินการกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้สู่สถานศึกษา เห็นได้จากการนำเสนอ

ผลงานของแต่ละสถานศึกษา ในการจัดกิจกรรมจะเป็นการดำเนินการที่มีส่วนร่วมกันเป็นการถ้อยที

ถ้อยอาศัย และมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ เมื่อพิจารณาเห็นว่าสถานศึกษาไหน

มีการดำเนินการที่เด่นกว่าจะให้สถานศึกษานั้นเป็นตัวแทนในระดับอาชีวศึกษาจังหวัด


8. อาชีวศึกษาจังหวัดสุโขทัย

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย โครงการครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรม

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย โครงการอาชีวะวิถีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงThe Best Practiceระดับ อศจ.

วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง อาชีวะใกล้ชิดวัดพัฒนาจิต

วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย โครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ภาวะผู้นำ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

สุโขทัย

โครงการวันพระทุกวันพุธ บ้าน วัด

โรงเรียน

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

ในการพิจารณาของอาชีวศึกษาจังหวัดสุโขทัย ใช้วิธีการเดียวกับอาชีวศึกษาแพร่ มีการ

พิจารณาเกณฑ์ และพูดคุยกันของตัวแทนแต่ละสถานศึกษา โดยการนำเสนอผลงานของแต่ละ

สถานศึกษา ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณาแต่นำเกณฑ์การพิจารณามาพูดคุยกัน และมีมติเป็น

เอกฉันท์ให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัยเป็นตัวแทน

การดำเนินงานในกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม เก่ง ดี มีสุข โดยมีพื้นฐานคุณธรรม 8

ประการ ผู้รับผิดชอบแต่ละสถานศึกษาจะจัดกิจกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยดูจากการเสนอผลงาน

ซึ่งส่วนใหญ่จะนำกิจกรรมที่ได้ดำเนินการทั้งหมดมานำเสนอในภาพรวม


9. อาชีวศึกษาจังหวัด ตาก

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

วิทยาลัยสารพัดช่างตาก โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาผู้กำกับ

ลูกเสือวิสามัญขั้นความรู้เบื้องต้น

วิทยาลัยการอาชีพแม่สอด โครงการกิจกรรมภายใต้ชมรมอาสา

พัฒนา

วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก โครงการปลูกต้นไม้เพื่อชีวิตเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 81 พรรษา 5 ธันวาคม 2551The Best Practiceระดับ อศจ.

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

อาชีวศึกษาจังหวัดตากมีการนำเสนอ มีการพิจารณาเกณฑ์ และพูดคุยกันของตัวแทนแต่ละ

สถานศึกษา โดยการนำเสนอผลงานของแต่ละสถานศึกษา ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการพิจารณาแต่นำ

เกณฑ์การพิจารณามาพูดคุยกัน และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตากเป็น

ตัวแทน

การดำเนินงานในกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม เก่ง ดี มีสุข โดยมีพื้นฐานคุณธรรม 8

ประการ ผู้รับผิดชอบแต่ละสถานศึกษาจะจัดกิจกรรมใหเ้ กิดผลสัมฤทธิ์โดยดูจากการเสนอผลงาน

ซึ่งส่วนใหญ่จะนำกิจกรรมที่ได้ดำเนินการทั้งหมดมานำเสนอในภาพรวม

 

 


10. อาชีวศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ โครงการยกย่องนักศึกษาที่มีความประพฤติดี(เยาวชนคนดีศรีอาชีวะ)The Best Practiceระดับ อศจ.

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ โครงการคุณธรรมนำความรู้คู่สถาบัน

วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์ กิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด

วิทยาลัยการอาชีพพิชัย ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ภายใต้

อาชีวะบริการ)

ไม่ได้เข้าประชุมฯ

ข้อสังเกตของผู้นิเทศ

อาชีวศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการพิจารณาเกณฑ์ และพูดคุยกันของตัวแทนแต่ละ

สถานศึกษา มีเพียงวิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ที่ได้นำเสนอผลงานและลงมติให้เป็นตัวแทนของ

อาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ในการดำเนินงานของสถานศึกษาแต่ละแห่งจะทำกิจกรรมในภาพรวม

ทั้งหมดที่สถานศึกษาได้จัดทำภายใต้โครงการคุณธรรมนำความรู้สู่สถานศึกษา จึงไม่มีกิจกรรมที่

เป็นกิจกรรมเด่น

ในการนี้ จึงได้ทำความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบของแต่ละสถานศึกษา แม้ว่าจะทำหลาย ๆ

กิจกรรมแต่ควรแสดงให้เห็นถึงผลของแต่ละกิจกรรม และสามารถประเมินให้เห็นเป็นรูปธรรมที่

เป็นกิจกรรมที่ดีเด่น แสดงเป็นตัวแทนของกิจกรรมที่ดีเด่นที่สุดของสถานศึกษา และเป็นตัวแทน

ของอาชีวศึกษาจังหวัดได้


11. อาชีวศึกษาจังหวัด เพชรบูรณ์

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ โครงการค่ายอาสา พี่ช่วยน้องยามหนาว The BestPractice ระดับอศจ.

2. วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ โครงการสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระ

รัตนตรัย

3. วิทยาลัยการอาชีพชนแดน 1. โครงการรณรงค์ประชาธิปไตย

2. โครงการพัฒนากองลูกเสือวิสามัญ

3. โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง

4. โครงการคุณธรรมนำความรู้

4. วิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรี โครงการเยาวชนคนเก่ง เสริมสร้าง

คุณธรรม

5. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

เพชรบูรณ์

- ไม่ได้เข้าประชุม


12. อาชีวศึกษาจังหวัด พิจิตร

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร โครงการมหากุศล เพื่อการศึกษา The Best Practiceระดับ อศจ.

2. วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร - ไม่ได้เข้าประชุม

3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

พิจิตร

1. โครงการธรรมสวัสดี

2. โครงการพัฒนาใจ ใฝ่หาธรรม

นำปัญญา


13. อาชีวศึกษาจังหวัด พิษณุโลก

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก - ไม่ได้เข้าประชุม

2. วิทยาลัยเทคนิคสองแคว โครงการอิ่มแล้วเก็บ

3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 1. โครงการตักบาตรทุกวันพระ เฉลิมพระ

เกียรติ ฯ

2. โครงการครูพระ สอนศีลธรรม

3. โครงการสวดมนต์ไหว้พระ

4. โครงการพัฒนาจิต

โครงการถวายตัวเป็นพุทธมามะกะ

5. โครงการเก็บบุญ

6. โครงการวัฒนธรรม ของ อศจ.พิษณุโลก

เรื่องการร่วมกิจกรรม หน้าเสาธง

4. วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลกโครงการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้มุ่งสู่ความพอเพียงThe Best Practiceระดับ อศจ.

5. วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี

6. วิทยาลัยการอาชีพนครไทย โครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี


14. อาชีวศึกษาจังหวัด กำแพงเพชร

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร 1. โครงการรณรงค์วันวาเลนไทน์

2. โครงการ อบรมยาเสพติดและโรค

เอดส์

3. โครงการ ส่งเสริมภาวะผู้นำ

4. โครงการ พัฒนาสิ่งแวดล้อม Big

Cleaning Day

5. โครงการ คุณธรรมนำความ พัฒนา

จิตใจ

2. วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร โครงการ

อบรมคุณธรรมจริยธรรม

วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร

3. วิทยาลัยการอาชีพขาณุวรลักษบุรี การจัดการเรียนการสอน

โดยยึดคุณธรรมนำความรู้

4. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชรโครงการค่ายคุณธรรมนำความรู้สู่อาชีพของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชรThe Best Practiceระดับ อศจ.


15. อาชีวศึกษาจังหวัด แม่ฮ่องสอน

ชื่อสถานศึกษา ชื่อกิจกรรม The Best Practice หมายเหตุ

1. วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอนโครงการปฏิบัติธรรมครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรมเฉลิมพระเกียรติThe Best Practiceระดับ อศจ.

2. วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง โครงการคุณธรรมยึดหลักเศรษฐกิจ

พอเพียง

ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะของผู้นิเทศ

1.สถานศึกษาควรมีการสรุปและประเมินโครงการที่ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบมากขึ้นกว่าที่

เป็นอยู่ และได้ให้แนวทางดำเนินการสรุปและประเมินผลอย่างง่ายๆ สำหรับสถานศึกษาไว้แล้ว

2.สถานศึกษาควรดำเนินโครงการคุณธรรมนำความรู้ให้ครอบคลุมยุทธศาสตร์ทั้ง 4

ยุทธศาสตร์ และสอดคล้องกับกลยุทธทั้ง 13 ข้อ และโครงการที่ปฏิบัติได้ครอบคลุมทั้ง 13 กลยุทธศาสตร์

ควรเป็นโครงการตัวอย่างที่ดี เกณฑ์การประเมินหาโครงการที่เหมาะสมควรมีจำนวนกลยุทธที่สามารถจัด

ได้อย่างเหมาะสม

3.สถานศึกษาควรรายงานและสรุปผลการดำเนินการที่ส่งผลต่อผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการ

ศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชน ที่เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

4.สถานศึกษาควรรายงานผลที่เป็นรูปธรรม (OUTCOME) ที่สอดคล้องกับคุณธรรม 8 ประการ

ที่ชัดเจนและสามารถที่จะสัมผัสได้หรือเห็นภาพได้อย่างชัดเจน

5.สถานศึกษาควรดำเนินการสร้างเครื่องมือติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมขึ้น

เองที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และกลยุทธในสถานศึกษาในปีการศึกษาต่อไป

6. จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาตามแบบการประเมินโครงการ ประจำปีงบประมาณ

2551 ของอาชีวศึกษาจังหวัด เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และแม่ฮ่องสอน

โดยตัวแทนของแต่ละสถานศึกษาเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 16 ฉบับ พบบางประเด็นน่าสังเกต ได้แก่

สถานศึกษามีความตระหนักในความสำคัญของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์/มาตรการ

โครงการคุณธรรมนำความรู้ระดับดี ครูในสถานศึกษามีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมระดับดี

ผู้เรียน มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในมุมมองของบุคคลภายนอก ระดับดี ครูและบุคลากรในสถานศึกษา มีความรู้

ความเข้าใจในการ ปฏิบัติงานตาม โครงการคุณธรรมนำความรู้ระดับพอใช้ งบประมาณอยู่ในระดับพอใช้

ซึ่งสังเกตได้ว่าสอดคล้องกับการนำเสนอที่ อศจ. ดังนั้นจึงเสนอแนะในรอบปีต่อไปควรมีโครงการพัฒนา

ครูแลบุคลากร และพัฒนาเกณฑ์การประเมินโดยใช้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ มาจัดทำเกณฑ์การประเมิน

เพื่อคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมกับงบประมาณที่จัดสรรให้หรือเสาะหามาเพิ่ม


สรุปประเภทของกิจกรรมที่เป็น The Best Practice ของทุกสถานศึกษา (71 แห่ง)

1. ด้านศาสนา

โครงการพุทธบุตร

โครงการธรรมสวัสดี

โครงการเข้าค่ายพุทธบุตร

โครงการฟื้นฟูศีลธรรมนำวิชาชีพ

โครงการบวชเณรเฉลิมพระเกียรติ

โครงการพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรม

โครงการเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม

โครงการอาชีวะใกล้ชิดวัดพัฒนาจิต

โครงการครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรม

โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรมนักศึกษา

โครงการตักบาตรทุกวันพระ เฉลิมพระเกียรติฯ

โครงการเก็บบุญ

โครงการสวดมนต์ไหว้พระ

โครงการครูพระ สอนศีลธรรม

โครงการมหากุศล เพื่อการศึกษา

โครงการถวายตัวเป็นพุทธมามะกะ

โครงการวีสตาร์ คลับ KIEC Gang

โครงการพัฒนาใจ ใฝ่หาธรรม นำปัญญา

โครงการจัดสอบธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก

โครงการสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรั

โครงการวันพระทุกวันพุธ บ้าน วัด โรงเรียน

โครงการค่ายคุณธรรมนำความรู้ นักศึกษาใหม่

โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกภายใต้โครงการคุณธรรมนำความรู้

โครงการคุณธรรมนำความรู้และพิธีประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

โครงการใกล้วัดใกล้ธรรม “บวชสามเณรภาคฤดูร้อน” ประจำปี 2551

โครงการปฏิบัติธรรมครอบครัวอบอุ่นด้วยพระธรรมเฉลิมพระเกียรติ

โครงการจริยธรรม คุณธรรมบนพื้นฐานของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม

2. ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี

โครงการรณรงค์วันวาเลนไทน์

โครงการวัฒนธรรม ของ อศจ.พิษณุโลก

โครงการร่วมอนุรักษว์ ัฒนธรรมไทยแต่งกายพื้นเมือง

โครงการวัฒนธรรม ของ อศจ.พิษณุโลก เรื่องการร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง


3. ด้านการปลูกฝังคุณธรรม 8 ประการ

โครงการพัฒนาจิต

โครงการพี่ชวนน้องมาเรียน

โครงการรณรงค์ประชาธิปไตย

โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม

โครงการคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

กิจกรรมเข้าค่ายพักแรมลูกเสือวิสามัญ

โครงการค่ายคุณธรรมนำความรู้สู่อาชีพ

โครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ภาวะผู้นำ

โครงการอบรมคุณธรรมนำความรู้คู่วิชาชีพ

โครงการเยาวชนคนเก่ง เสริมสร้างคุณธรรม

โครงการตามรอยคนดี

โครงการ ส่งเสริมภาวะผู้นำ

โครงการคุณธรรมนำความรู้

โครงการปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธง

โครงการคุณธรรมนำความรู้คู่สถาบัน

โครงการค่ายอาสา พี่ช่วยน้องยามหนาว

โครงการพัฒนากองลูกเสือวิสามัญ

โครงการ อบรมยาเสพติดและโรคเอดส์

โครงการจัดกิจกรรมรณรงค์ต้านยาเสพติด

โครงการกินแล้วเก็บ/โครงการอิ่มแล้วเก็บ

โครงการจัดการเรียนการสอนโดยยึดคุณธรรมนำความรู้

โครงการอบรมแกนนำคุณธรรมนำความรู้คู่ประชาธิปไตย

โครงการอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้วยคุณธรรมนำความรู้

โครงการออมเพื่ออนาคตภายใต้โครงการคุณธรรมนำความรู้

โครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ภายใต้อาชีวะบริการ)

โครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์

โครงการยกย่องนักศึกษาที่มีความประพฤติดี(เยาวชนคนดีศรีอาชีวะ)

โครงการคุณธรรมนำความรู้คู่ประชาธิปไตย วัฒนธรรมในสถานศึกษา

โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญขั้นความรู้เบื้องต้น

โครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ประชาธิปไตย กิจกรรม คุณธรรมนำความรู้วันศุกร์

โครงการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลังการเข้าอบรมคุณธรรม

โครงการพัฒนาแผนปฏิบัติการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาตามกระบวนการ

บริหารงานคุณภาพ ToPSTAR


4. การรักษาสภาพแวดล้อม/ สิ่งแวดล้อม

โครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี

โครงการ คุณธรรมนำความรู้ พัฒนาจิตใจ

โครงการกิจกรรมภายใต้ชมรมอาสาพัฒนา

โครงการปลูกต้นไม้เพื่อชีวิตเฉลิมพระเกียรติ

โครงการเพิ่มผลผลิตในนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

โครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม Big Cleaning Day

5. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการคุณธรรมยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการอาชีวะวิถีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้มุ่งสู่ความพอเพียง

โครงการอบรมทำบัญชีแบบครัวเรือน สู่เศรษฐกิจพอเพียง

โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเลี้ยงสุกรแบบคอก บังเกอร์

6. อื่นๆ

โครงการ Hotline สายด่วน

การส่งเสริมการทำโครงการวิทยาชีพภายใต้การนิเทศเพื่อพัฒนาระดับของสมาชิก

อกท.หน่วยแพร่


สรุปจำนวนสถานศึกษาที่ร่วมประชุม 65 แห่ง (ไม่ได้เข้าประชุม 5 แห่ง) ตามรายละเอียด ดังนี้

ชื่อสถานศึกษา จำนวนผู้เข้าประชุม

1. วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ 2

2. วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง 1

3. วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง 3

4. วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ 6

5. วิทยาลัยการอาชีพฝาง 2

6. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ 3

7. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ 3

8. วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง 1

9. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง 4

10.วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา 3

11.วิทยาลัยเทคนิคลำปาง 3

12.วิทยาลัยการอาชีพเถิน -

13.วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย 2

14.วิทยาลัยการอาชีพเชียงราย 1

15.วิทยาลัยการอาชีพเทิง 1

16.วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก เชียงราย 1

17.วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง 2

18.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย 1

19.วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย 1

20.วิทยาลัยการอาชีพดอกคำใต้ 4

21.วิทยาลัยเทคนิคพะเยา 3

22.วิทยาลัยการเชียงคำ 2

23.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา 1

24.วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง 2

25.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน 3

26.วิทยาลัยเทคนิคลำพูน 2

27.วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง -

28.วิทยาลัยเทคนิคน่าน 2

29.วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน 3


ชื่อสถานศึกษา จำนวนผู้เข้าประชุม

30.วิทยาลัยการอาชีพปัว 2

31.วิทยาลัยการอาชีพเวียงสา 3

32.วิทยาลัยเทคนิคแพร่ 4

33.วิทยาลัยการอาชีพสอง 2

34.วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ 3

35.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ 5

36.วิทยาลัยการอาชีพลอง -

37.วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 6

38.วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 4

39.วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง 3

40.วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย 1

41.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 2

42.วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย 1

43.วิทยาลัยสารพัดช่างตาก 7

44.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก 1

45.วิทยาลัยการอาชีพแม่สอด 2

46.วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก 2

47.วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ 8

48.วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ 4

49.วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์ 1

50.วิทยาลัยการอาชีพพิชัย -

51.วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ 3

52.วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ 2

53.วิทยาลัยการอาชีพชนแดน 2

54.วิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรี 2

55. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ -

56.วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร 4

57.วิทยาลัยสารพัดช่างพิจิตร 3

58.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร 3


ชื่อสถานศึกษา จำนวนผู้เข้าประชุม

59.วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก 3

60.วิทยาลัยเทคนิคสองแคว 3

61.วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก 3

62.วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก 3

63.วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก 2

64.วิทยาลัยการอาชีพนครไทย 2

65.วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร 2

66.วิทยาลัยสารพัดช่างกำแพงเพชร 2

67.วิทยาลัยการอาชีพขาณุวรลักษบุรี 2

68.วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร 4

69.วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน 2

70.วิทยาลัยการอาชีพแม่สะเรียง 3

รวมทั้งสิ้น 223

xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = v />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.  ผลการดำเนินงานโครงการคุณธรรมนำความรู้ซึ่งมีเกณฑ์ดังนี้  (50 คะแนน)

3.1  เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดคุณธรรมกับผู้เรียนจากคุณธรรม 8 ประการ

3.2  นักเรียนนักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดและดำเนินการโครงการ

3.3  โครงการเกิดผลกับนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาเป็นจำนวนมาก

3.4  โครงการมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดคุณธรรมกับผู้เรียน xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

3.5  มีการนิเทศ ติดตาม และปรับปรุงการดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์

3.6  มีการยกย่องเชิดชูผู้ที่เป็นตัวอย่างคุณธรรม

3.7  มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ชุมชน สังคม ผู้ปกครอง

3.8  อื่น ๆ

http://www.nsdv.go.th/2005/download/file/kVyie56Sun83626...pdf

ผลการคัดเลือก The best practice โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมดีเด่น

 

ภาคเหนือ

1. วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา                                             โครงการฝึกจิตสมาธิเฉลิมพระเกียรติฯ

2.  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน                        โครงการพี่ชวนน้อง

 

ภาคใต้

1.  วิทยาลัยเทคนิคสตูล                                                      โครงการกินแล้วเก็บ

2.  วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช                        โครงการบรรพชาสามเณรและบวชเนกขัมนารี

 

ภาคกลาง        

1.  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี                                   โครงการกล้าตะวัน

2.  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี                                       โครงการเยาวชนอาชีวะ วันพระเข้าวัดทำบุญ

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1.  วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม                               โครงการนิทานคุณธรรม

2.  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด                     โครงการเครือข่ายคุณธรรมคนดีศรีอาชีวะ

3.  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย                                                โครงการไหว้สวยด้วยมือเรา

4.  วิทยาลัยเทคนิคหนองบัวลำภู                                     โครงการพาลูกเข้าวัด

 

ภาคตะวันออกและกทม.

1.  วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี                                            โครงการคุณธรรมนำวิชาชีพคู่ประชาธิปไตย

2.  วิทยาลัยการอาชีพนครนายก                                      โครงการธงเกียรติยศ

 





สำหรับสมาชิกเท่านั้น
[ ย้อนกลับ ]